บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:20
Out to Class 12:20
Articleวิทย์-คณิตปฐมวัย สำคัญอย่างไรต่ออนาคตของชาติ?
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือนิตยสารสสวท. กับวิชาการดอทคอม
Knowledge
เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางว่า การศึกษาปฐมวัย คือ การวางรากฐานการเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อพัฒนาศักยภาพในการคิด และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดั้งนั้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงริเริ่มให้มีโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงวันนี้ ได้นำมาสู่การพัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัยขึ้น หนึ่งในกิจกรรมคือ การจัดเสวนาในหัวข้อเรื่อง วิทย์-คณิตปฐมวัย สำคัญอย่างไรต่ออนาคตของชาติ โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาปฐมวัยและการพัฒนาเด็ก ได้แก่ รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต นายแพทย์ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ อ. ธิดา พิทักษ์สินสุข กรรมการบริหารสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ และ ดร.เขมสิริ ประภามนตรีพงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนประภามนตรี เข้าร่วมการเสวนาครั้งนี้
รศ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เริ่มด้วยภาพกว้างของแนวทางจัดการศึกษาในปัจจุบันว่า ในทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับว่า การเรียนรู้ในช่วงชีวิต 0-6 ขวบ นั้นจะเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง มนุษย์แต่ละคนจะโตขึ้นเป็นคนอย่างไรขึ้นอยู่กับช่วงวัยนี้ เพราะเซลล์สมองจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเราจึงให้ความสำคัญต่อเด็กในวัยนี้
สิ่งที่กล่าวมานี้ สอดคล้องกับสิ่งที่นพ.ยงยุทธ์ ได้พูดถึงการเรียนรู้ของสมองว่า สมองจะเรียนรู้จากการได้ลงมือทำจริง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในโรงเรียนอนุบาล หรือศูนย์เด็กเล็กหลายๆแห่งคือ คุณครูให้เด็กทำกิจกรรมในกระดาษ ดังนั้นสิ่งที่ต้องส่งเสริมคือการให้เด็กได้ลงมือทำจริง เขาจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น คุณครูต้องบูรณาการการเรียนการสอนมากขึ้น มีนวัตกรรมใหม่ๆในการสอน โดยการต่อยอดจาก 6 กิจกรรมหลักที่กำหนดไว้ในการศึกษาปฐมวัย
วิทยากรทั้ง 4 ท่านสรุปตรงกันว่า การให้การศึกษาวิทย์-คณิตนั้น เรื่องของกระบวนการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญกว่าเนื้อหา และแบบฝึกหัด ดังนั้นจึงต้องมีการทำความเข้าใจกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง เพราะหลายคนเมื่อส่งลูกเข้าเรียนอนุบาลมักจะคาดหวังว่าลูกจะอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเรื่องนี้ ดร.วรากรณ์ เห็นว่า การอ่านออกเขียนได้เป็นสิ่งสำคัญก็จริง เพราะการคิด การอธิบายความจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีความสามารถทางภาษา แต่ไม่ใช่ในระดับอนุบาล แต่ควรจะเริ่มต้นในประดับประถมศึกษาปีที่ 2 ขึ้นไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น