บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:10
Out to Class 12:20
กิจกรรมที่ทำ
วันนี้อาจาย์เริ่มต้นชั่วโมงด้วยการให้คำแนะนำ และแนวทางการแก้ไขบล็อก ว่าตัวไหนสามารถเพิ่มภาษาอังกฤษได้ให้เพิ่มเติมเพื่อเราจะได้คุ้นเคย
Knowledge
การเรียนรู้ด้วยตนเอง+การลงมือปฏิบัติจริง+สร้างชิ้นงานด้วยตนเอง
ซึ่งพัฒนาการ ก็คือ การแสดงความสามารถตามอายุ แสดงออกมาแต่ละด้าน ซึ่งเราคาดหวังเราคาดหวังเป็นคุณลักษณะ และเครื่องมือที่ใช้ในการเล่นของเด็กก็คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่ง ดิวอี้ เขาเน้นเด็กเป็นสำคัญและการลงมือปฏิบัติจริง จึงทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้
จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษสีให้ แล้ววาดภาพให้สัมพันธ์กันทั้งสองด้าน ของหนูวาดเป็น ดอกไม้(flowers) กับ ผีเสื้อ(butterfly)
ตัดกระดาษเสร็จแล้วก็ตกแต่งค่ะ |
ติดกาวแล้วใช้ไม้เสียบลูกชิ้นติด |
ติดกาวแล้วพับกระดาษติดกัน |
เสร็จแล้ว ผลงานของหนู |
ประโยชน์ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ คือ ทราบถึงวิธีทำสื่อวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ หาได้ง่ายใกล้ตัว ใช้ได้คุ้มค่า เศษกระดาษสามารถทำอย่างอื่นได้ด้วยค่ะ
การเลือกหัวข้องานกลุ่ม ซึ่งกลุ่มพวกเราเลือกเรื่อง ''ไข่'' และยังมีผลงานของเพื่อนๆอีกค่ะ
จากนั้นอาจารย์ก็ให้เพื่อนออกมานำเสนอบทความ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชนิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน ตัวอย่างเช่น การให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการประกอบอาหารประเภทผัก ผัดผักรวม แกงเลียง แกงส้ม หรือสลัดผัก พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการประกอบอาหาร การช่วยใส่ส่วนประกอบที่เป็นผักลงในกระทะ การเติมเครื่อง ปรุงต่างๆ ขณะที่เด็กช่วยเตรียมผัก พ่อแม่อาจจะถามเด็กว่าผักที่กำลังเตรียมปรุงอาหารมีชื่ออะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร ซึ่งนอกจากกิจกรรมการประกอบอาหารจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชผักชนิดต่างๆแล้ว ยังช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีและสร้างความอบอุ่นระหว่างพ่อ แม่และลูกได้อีกด้วย
เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย “เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก” กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว
นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้
ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก แนะนำว่า ถ้าหากเป็นไปได้ ผู้เล่านิทานควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อวางแผนการสื่อสารกับเด็ก ๆ และจะหยิบยกประเด็นใดมาพูด นิทานบางเล่มที่ไม่มีคำบรรยาย มีแต่ภาพอย่างเดียว ภาพก็จะสื่อให้เข้าใจได้เช่นกัน
เรื่องแนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล
ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มี
ความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก
เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"
ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจ
ไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น
เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน
รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
ความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก
เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"
ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจ
ไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น
เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน
รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
เรื่อง การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆ สำหรับคุณหนูๆ
การทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กยังช่วยฝึกให้ลูกน้อยเพิ่มทักษะความรู้เกี่ยวกับการสังเกต และการค้นคว้าหาคำตอบด้วยเหตุและผล
ทักษะการสังเกตเป็นความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
ทักษะการมอง โดยการสังเกตขนาด สี รูปร่าง และองค์ประกอบ
ทักษะการฟังเพื่อเพิ่มความสามารถในการแยกระดับเสียงที่แตกต่างกัน
ทักษะการดมเพื่อให้สามารถแยกแยะกลิ่นที่แตกต่างกัน
ทักษะการลิ้มรสช่วยในการรับรู้รสชาติที่แตกต่างของอาหาร
ทักษะการสัมผัสเพื่อเพิ่มความสามารถในการสัมผัสกับสภาพอากาศและพื้นผิวของสิ่งของต่างๆ
ทักษะการฟังเพื่อเพิ่มความสามารถในการแยกระดับเสียงที่แตกต่างกัน
ทักษะการดมเพื่อให้สามารถแยกแยะกลิ่นที่แตกต่างกัน
ทักษะการลิ้มรสช่วยในการรับรู้รสชาติที่แตกต่างของอาหาร
ทักษะการสัมผัสเพื่อเพิ่มความสามารถในการสัมผัสกับสภาพอากาศและพื้นผิวของสิ่งของต่างๆ
อาจารย์นำสื่อ เรื่อง ความลับของแสงมาให้พวกเราได้สัมผัสกันค่ะ
เห็นกันยังเอ่ย |
ขอถ่ายรูปหน่อยค่ะ |
เอะส่องอะไรคะ |
เทคนิคการสอน
วันนี้อาจารย์มีสื่อหลากหลาย เช่น กล้องพาราไดร์สโคป กล้องเปริสโคป และสื่อที่คิดสร้างสรรค์เองแล้วตกแต่งให้สวยงาม แล้วให้นักศึกษาได้สัมผัส อาจารย์มีการเตรียมการสอนที่ดีมากๆค่ะ
การประเมิน(Evaluate)
การประเมินตนเอง
วันนี้มาเรียนแต่เช้าเลยค่ะ แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ ร่วมตอบคำถามของอาจารย์ สนใจฟังคำแนะนำของอาจารย์ ปฏิบัติตามคำสั่งของอาจารย์
การประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียนดีมาก ร่วมตอบคำถามกับเพื่อนๆ ส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนค่ะ
การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ใช้สื่อในการสอน เป็นสื่อที่สอดคล้องกับการดูวีดีโอเรื่องความลับของแสง เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำสื่อที่ครูมอบให้ไปปรับใช้กับการเรียนในรายวิชาอื่นได้ และเทคนิคการตอบคำถามไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นได้อย่างเหมาะสม
สิ่งที่ศึกษาเพิ่มเติม
-บิดาของการศึกษาปฐมวัยคือ เฟรดริค วิลเฮม ฟรอเบล (Friedrich Wilhelm Froebel) แนวคิดได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาของการอนุบาลศึกษาเป็นผู้วางแนวทางการสอน แบบการได้ลงมือปฏิบัติจริง (Hands-on Learning) ผ่านการเล่น
-ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rouseeau ) “เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว” การให้การศึกษาแก่เด็กต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของเด็กเสียก่อน
-จอนห์น ดิวอี้ (John Dewey) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ผู้สอน มีหน้าที่ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา “การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ(Learning by doing)”
-โจฮันน์ ไฮน์ริค เปสตาลอซซี่ (Johann Heinrich Pestalozzi) เปสตาลอซซี่ เชื่อว่า การศึกษาธรรมชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน เปสตาลอซซี่มุ่งเน้นความคิดของการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม เปสตาลอซซี่กล่าวว่าการจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรรวมถึงการ พัฒนาร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ
-สื่อทีทำในชั้นเรียนทำไมถึงหมุน หนูคิดว่าเราติดกาวให้เป็นแผ่นและแนวเดียวกัน จากนั้นเราก็หมุนถูไม้เสียบทำให้ภาพสามารถหมุนได้
-สัปดาห์หน้านำแกนทิชชู่มา 1 อันต่อ 2 คน
หมายเหตุ
วันนี้เพื่อนไปช่วยถือของสายนิดหนึ่งค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น