บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:20
Out to Class 12:20
Activities
วันนี้เริ่มต้นชั่วโมงด้วยการประดิษฐ์(Invention) สื่อจากเศษกระดาษที่เหลือจากการทำสื่อเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
Equipment
- Paper
- Scissors
- Paperclip
Procedure
1.เตรียมอุปกรณ์ |
2.ตัดกระดาษครึ่งหนึ่ง(ยกเว้นแถวที่ 3-4) |
3.ได้ภาพเป็นแบบนี้ |
4.พับหัวกระดาษ 1-2 ซม. แล้วใช้คลิปหนีบ |
Trials
Rerults
Grop :1 -2 หมุนได้ดี เพราะมีการตัดกระดาษที่ลึกและสมดุล ทำให้กระดาษหมุนและทรงตัวได้ดีในอากาศ
Grop: 3-4 หมุนน้อย ลงเร็ว บางคนก็ไม่หมุน
Solutions
-ตัดปีกให้ลึกลงไปอีก เท่า Grop 1-2
-เปลี่ยนวิธีการโยน
Knowledge
The Teacher' s Question
1. What is the wind=?
Answers:อากาศที่เคลื่อนที่
2. What is the weather=?
Answers:สิ่งทีอยู่รอบตัวเรา ต้องการที่อยู่ มีน้ำหนัก
Activities: 2
Equipment
- Scissors
- Paint
- Ruler
- Basin
- Rope
วิธีการทำ
1.เตรียมอุปกรณ์ |
2.ตัดแกนทิชชู่พร้อมเจาะรูตรงกัน |
3.ตกแต่งให้สวยงาม |
4.ร้อยเชือกใส่ในรูที่เจาะไว้ |
5.เสร็จแล้วผลงานของหนู
มาเล่นกันเถอะ
|
วิธีเล่น : ผูกเชือกไว้ที่คอ ใช้มือดึงเชือกขึ้นลงไปมา จะทำให้ภาพขึ้นลงได้ตามภาพ เราสามารถประดิษฐ์สื่อขึ้นเองได้ โดยใช้วัสดุใกล้ตัว นอกจากแกรนกระดาษทิชชู่แล้ว ยังมี แผ่นซีดี จานกระดาษ หนังสือพิมพ์ ที่สามารถนำมาเป็นสื่อได้ โดยที่เราไม่ต้องเสียเงินซื้อ
จากกิจกรรมที่ 2 เราก็มานำเสนอบทความประจำวันของเราเช่นเคย
1.miss Jiraporn Noulchom
เรื่อง :สะกิดลูกให้คิดแบบวิทยาศาสตร์
โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานสนับสนุนงานวิจัย(สกว) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) คือ รูปแบบ 5 Es Model ประกอบด้วยขั้นตอนง่ายๆ 5 ขั้น ซึ่งพ่อแม่สามารถนำไปฝึกลูกให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ได้ดังนี้
ขั้นที่ 1Enqaqe
เมื่อลูกอย่างเรียน 2 อย่างพร้อมกัน พ่อแม่ ควรตรวจสอบความรู้เดิมของลูกก่อน ว่ามีพื้นฐานขนาดไหน หรือเข้าใจถูกต้องหรือไม่
ขั้นที่ 2 Explore
ให้ลูกเสาระแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยการค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องที่สนใจและอยากรู้ จากแหล่งต่าง พ่อแม่ไม่ควรไปเผลอบอกลูกก่อน
ขั้นที่ 3 Explain
ให้ลูกลองวิเคราะห์ตรวจสอบความรู้ที่ตนเองสร้างจากขั้นที่ 2 โดยพูดคุยกับลูก และให้ลองอธิบายเรื่องที่ได้เรียนรู้ตามความเข้าใจของตนเอง
ขั้นที่ 4 Elaborate
ลองให้ลูกเชื่อมโยง และขยายความรู้ในสิ่งที่เรียนรู้ ไปยังสิ่งที่อยู่รอบตัว อาจจะทดลองง่ายๆ ที่บ้าน
ขั้นที่ 5 Evaluate
พูดคุยกับลูก ให้ลูกลองสะท้อนความรู้และความคิดที่ตนเองสร้างขึ้นมา จะให้เด็กตระหนักคิดแบบวิทยาศาสตร์
2.Miss Anna Chawsuan
การเรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย
ขั้นตอนแรกคือ ขั้นนา เด็กได้ร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทาท่าทางประกอบเพลงอย่างอิสระ ฟังนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง สนทนาและตั้งคาถามในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่งที่เด็กชื่นชม คือ ไก่และเป็ด
ขั้นตอนที่สอง ขั้นสอน ชวนเด็กตั้งคาถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น “อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างคะ” หนูรู้ได้อย่างไร บอกรายละเอียดมาให้มากที่สุด สารวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ด โดยนาลูกไก่มาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด และอาหารของลูกไก่ด้วยตาเปล่าและแว่นขยาย โดยบอกรายละเอียดของลูกไก่ให้มากที่สุด และนาลูกเป็ดมาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด และอาหารของลูกเป็ด ด้วยตาเปล่าและแว่นขยายโดยบอกรายละเอียดของเป็ดให้มากที่สุด นอกจากนั้น คุณครูพาเด็ก ๆ ไปศึกษาหารู้ความรู้เพิ่มเติมจากฟาร์มเลี้ยงไก่และเป็ดที่ อบต. นาเพียง ใกล้โรงเรียน และสังเกตรายละเอียดของไก่และเป็ด จากนั้นให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันนาเสนอผลงานผ่านภาพวาด และบันทึกคาพูดเด็กจากการสังเกต และเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะและขนาดของไก่และเป็ดอย่างอิสระ
ขั้นสุดท้าย คือ ขั้นสรุป เด็กนาเสนอผลงานจากการสังเกตรูปร่างลักษณะของไก่และเป็ดผ่านภาพวาดบนกระดาน เด็กได้รู้ว่าไก่และเป็ดมีรูปร่างลักษณะต่างกัน โดยค้นพบคาตอบด้วยตนเองจากการสังเกตและเปรียบเทียบ
ประสบการณ์สาคัญที่เด็กๆ ได้รับจากกิจกรรมนี้ คือ การแสดงความรู้สึกด้วยคาพูด การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง การสารวจและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของไก่และเป็ด การเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของไก่และเป็ด
3.Miss Chanida Bunnakho
เรื่อง: เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
1. ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต
ผู้ดูเด็กควรจะแนะนำหรือฝึกให้เด็กหัดสังเกตในสิ่งที่เขากำลังสนใจอยู่ เช่น ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะพูดให้เด็กสังเกตว่าตัวหนอนมีลักษณะอย่างไร ตัวหนอนโตขึ้นแล้วมันจะค่อย ๆ กลายเป็นผีเสื้อ
2.สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคนไม่ควรไปบอกกับเด็กว่าหนูไม่เหมาะกับวิทยาศาสตร์ หนูเรียนไม่ได้ เพราะจะไปตอกย้ำให้เด็กรู้สึกเช่นนั้น หรือต้องไม่บอกเด็กว่าโตขึ้นหนูควรจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นหมอ ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ต้องไปตัดสินใจให้เด็ก แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กมีหน้าที่จะต้องให้เด็กทุกคนสนใจวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นเด็กทีเรียนเร็วหรือช้า ให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น สนุก
3. บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรสรุปว่าผู้ปกครองทุกคนรู้และแนะนำเด็กได้ ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องคอยแนะนำผู้ปกครองด้วย เช่นบอกว่ากิจกรรมที่เด็ก ๆ ทำอยู่นั้นเป็นการสอนวิทยาศาสตร์ในเรื่องอะไร ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจแนะนำผู้ปกครองโดยวิธีการออกจดหมายและชี้แจงว่า ผู้ปกครองอาจจะมีาวนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรมเรื่องนี้ได้โดยวิธีใดบ้าง
4. ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาซึ่งความสนุกสนานและความพอใจ ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องหาวิธีทำอย่างไรให้เด็กรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก อย่าทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยาก เช่น ขณะสอนเรื่องส่วนต่าง ๆ ของพืชผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรบอกว่าต้นไม้ดูดน้ำจากรากไปเก็บไว้ที่ใบ เพราะนั่นหมายถึงผู้เลี้ยงดูเด็กได้บอกเด็กไปหมดแล้ว เด็กจะรู้สึกว่าไม่มีอะไรน่าสนใจอีกแล้ว
5. สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก
ผู้เลี้ยงดูเด็กควรทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า เป็นคนมีความสามรถและหัดให้เด็กรู้จักวิธีค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เช่น ให้สังเกตว่าทำไมไม้ถึงลอยน้ำได้ ทำไมเกลือจึงละลายน้ำ เด็กจะรู้สึกอยากค้นพบ อยากหาเหตุผล
4. Miss Suangkamon Sutawee
เรื่อง:หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ ?
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ที่เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 และต่อเนื่องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
อาจารย์ชุติมา เตมียสถิต หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) หนึ่งในทีมงานที่ริเริ่มโครงการนี้ กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ว่าจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549 พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมาย โดยผ่านการบอกเล่า มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบ เนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้าง และจากการสัมภาษณ์ครูถึงแนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู พบว่าครูได้ใช้หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทาง ซึ่งได้กำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ ในสาระที่ควรรู้ 4 สาระ ปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือ ครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้ในว่าแต่ละสาระ ครูจะสอนอะไร สอนแค่ไหน สอนอย่างไร และมีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้
5.Miss Natcharita Suwanmanee
เรื่อง : ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก
การส่งเสริมกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ในเด็ก โครงการวิทยาศาสตร์ของเด็กในเมืองมักเป็นเรื่องที่สัมพันธ์หรือเกี่ยวเนื่องกับตนเองเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากการอ่านหนังสือการ์ตูน จึงมุ่งเน้นโครงงานที่เกี่ยวพันกับการประดิษฐ์ของเล่น อาทิ โครงงานประดิษฐ์ตุ๊กตาหุ่นยนต์จากไม้ไผ่ โครงงานประดิษฐ์ผีมหัศจรรย์จากน้ำแข็งแห้ง เป็นต้น
ขณะที่โครงงานวิทยาศาสตร์ของเด็กในชนบทจะมุ่งเน้นโครงงานที่สัมพันธ์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยพยายามนำสิ่งของที่หาได้ง่ายในโรงเรียนและท้องถิ่น หรือสิ่งของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น โครงงานทำกะปิจากถั่วเน่า โครงงานสมุนไพรชุมชน โครงงานสีย้อมผ้าและโครงงานกระดาษข้าวโพด เป็นต้น โครงงานวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงข้างต้น ถ้ามองเผินๆ อาจดูเหมือนไม่สลักสำคัญอะไร แต่ถ้าพิจารณากันอย่างลึกซึ้งจริงจังแล้ว จะพบว่าโครงงานดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างในวิธีคิด การถูกอบรมเลี้ยงดู บ่มเพาะและลักษณะการดำเนินชีวิต รวมตลอดถึงการให้คุณค่าของสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตระหว่างเด็กในเมือง และเด็กในชนบท
เทคนิคการสอนของอาจาย์
วันนี้อาจารย์มีสื่อการสอนที่หลากหลาย น่าสนใจ มาให้นักศึกษาได้ลองทำดู ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากทิชชู่ กังหันแบบลูกยาง
ซึ่งอาจารย์ก็ทำเป็นแบบอย่างให้ดูเพราะนักศึกษาบางคนยังไม่เข้าใจ
การประเมิน( Evaluate )
การประเมินตนเอง
วันนี้รู้สึกตื่นเต้น อย่างบอกไม่ถูกค่ะ เพราะนั่งตามเลขที่ คิดถึงเพื่อนคนที่นั่งข้างกัน แต่ยังไงก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและแนะนำ ฟังบทความที่เพื่อนนำมาฝากเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อย วันนี้ดิฉันก็แต่งตัวเรียบร้อยเหมือนที่เคยค่ะ เก็บผมเรียบร้อยดีมากค่ะ
การประเมินเพื่อน
วันนี้ดูเพื่อนก็ตื่นเต้นไม่น้อยเลยที่ได้นั่งตามเลขที่ และเพื่อนส่วนใหญ่ก็สนใจและตั้งใจฟัง เวลาอาจารย์สอนไม่ค่อยคุยกันค่ะ แต่งกายเรียบร้อยดีมากค่ะ
การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ มีเทคนิคการสอนที่ดี ฝึกให้นักศึกษาได้คิด และกล้าที่จะแสดงออกอย่างถูกต้องและเหมาะสม
สิ่งที่ต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
- การเขียนแผนกลุ่ม ทั้ง 5 วัน
-การเขียนแผ่นเดี่ยว (ได้วันที่ 5)
หมายเหตุ
วันนี้นั่งตามเลขที่ เพาะอาจารย์จะได้สะดวกในการดูความประพฤติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น