คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7


บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:20
Out to Class 12:20
 
Activities
วันนี้เริ่มต้นชั่วโมงด้วยการประดิษฐ์(Invention) สื่อจากเศษกระดาษที่เหลือจากการทำสื่อเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
 Activities :1
Equipment
  1. Paper
  2. Scissors
  3. Paperclip

Procedure




1.เตรียมอุปกรณ์
2.ตัดกระดาษครึ่งหนึ่ง(ยกเว้นแถวที่ 3-4)
3.ได้ภาพเป็นแบบนี้
4.พับหัวกระดาษ 1-2 ซม. แล้วใช้คลิปหนีบ



Trials
 
Rerults
Grop :1 -2  หมุนได้ดี  เพราะมีการตัดกระดาษที่ลึกและสมดุล ทำให้กระดาษหมุนและทรงตัวได้ดีในอากาศ
 
Grop: 3-4 หมุนน้อย  ลงเร็ว  บางคนก็ไม่หมุน
 
Solutions
-ตัดปีกให้ลึกลงไปอีก เท่า Grop 1-2
-เปลี่ยนวิธีการโยน
 
Knowledge
 
The Teacher' s  Question
 1. What is the wind=?
Answers:อากาศที่เคลื่อนที่
 
 2. What is the weather=?
Answers:สิ่งทีอยู่รอบตัวเรา ต้องการที่อยู่ มีน้ำหนัก
 
 
Activities: 2
 
Equipment
  1. Scissors
  2.  Paint
  3. Ruler
  4. Basin
  5. Rope
วิธีการทำ
1.เตรียมอุปกรณ์
2.ตัดแกนทิชชู่พร้อมเจาะรูตรงกัน


3.ตกแต่งให้สวยงาม
4.ร้อยเชือกใส่ในรูที่เจาะไว้



5.เสร็จแล้วผลงานของหนู
                                                                                    

                                                                    

                                                  มาเล่นกันเถอะ
 





วิธีเล่น : ผูกเชือกไว้ที่คอ ใช้มือดึงเชือกขึ้นลงไปมา จะทำให้ภาพขึ้นลงได้ตามภาพ เราสามารถประดิษฐ์สื่อขึ้นเองได้ โดยใช้วัสดุใกล้ตัว นอกจากแกรนกระดาษทิชชู่แล้ว ยังมี แผ่นซีดี จานกระดาษ หนังสือพิมพ์ ที่สามารถนำมาเป็นสื่อได้ โดยที่เราไม่ต้องเสียเงินซื้อ


จากกิจกรรมที่ 2 เราก็มานำเสนอบทความประจำวันของเราเช่นเคย

1.miss Jiraporn  Noulchom

เรื่อง :สะกิดลูกให้คิดแบบวิทยาศาสตร์
โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานสนับสนุนงานวิจัย(สกว) และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) คือ รูปแบบ 5 Es Model ประกอบด้วยขั้นตอนง่ายๆ 5 ขั้น ซึ่งพ่อแม่สามารถนำไปฝึกลูกให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ได้ดังนี้

ขั้นที่ 1Enqaqe
เมื่อลูกอย่างเรียน 2 อย่างพร้อมกัน พ่อแม่ ควรตรวจสอบความรู้เดิมของลูกก่อน ว่ามีพื้นฐานขนาดไหน หรือเข้าใจถูกต้องหรือไม่

ขั้นที่ 2 Explore
ให้ลูกเสาระแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยการค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องที่สนใจและอยากรู้ จากแหล่งต่าง พ่อแม่ไม่ควรไปเผลอบอกลูกก่อน

ขั้นที่ 3 Explain
ให้ลูกลองวิเคราะห์ตรวจสอบความรู้ที่ตนเองสร้างจากขั้นที่ 2 โดยพูดคุยกับลูก และให้ลองอธิบายเรื่องที่ได้เรียนรู้ตามความเข้าใจของตนเอง

ขั้นที่ 4 Elaborate
ลองให้ลูกเชื่อมโยง และขยายความรู้ในสิ่งที่เรียนรู้ ไปยังสิ่งที่อยู่รอบตัว อาจจะทดลองง่ายๆ ที่บ้าน

ขั้นที่ 5 Evaluate
พูดคุยกับลูก ให้ลูกลองสะท้อนความรู้และความคิดที่ตนเองสร้างขึ้นมา จะให้เด็กตระหนักคิดแบบวิทยาศาสตร์

  2.Miss Anna Chawsuan

   การเรียนรู้จากนิทานเรื่องนี้มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย
ขั้นตอนแรกคือ ขั้นนา เด็กได้ร้องเพลงไก่ พร้อมทั้งทาท่าทางประกอบเพลงอย่างอิสระ ฟังนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่ง สนทนาและตั้งคาถามในการสืบค้นเกี่ยวกับสัตว์ในนิทานเรื่องหนูไก่คนเก่งที่เด็กชื่นชม คือ ไก่และเป็ด

ขั้นตอนที่สอง ขั้นสอน ชวนเด็กตั้งคาถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น “อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้างคะ” หนูรู้ได้อย่างไร บอกรายละเอียดมาให้มากที่สุด สารวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไก่และเป็ด โดยนาลูกไก่มาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด และอาหารของลูกไก่ด้วยตาเปล่าและแว่นขยาย โดยบอกรายละเอียดของลูกไก่ให้มากที่สุด และนาลูกเป็ดมาให้เด็กสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ขนาด และอาหารของลูกเป็ด ด้วยตาเปล่าและแว่นขยายโดยบอกรายละเอียดของเป็ดให้มากที่สุด นอกจากนั้น คุณครูพาเด็ก ๆ ไปศึกษาหารู้ความรู้เพิ่มเติมจากฟาร์มเลี้ยงไก่และเป็ดที่ อบต. นาเพียง ใกล้โรงเรียน และสังเกตรายละเอียดของไก่และเป็ด จากนั้นให้เด็กแต่ละกลุ่มช่วยกันนาเสนอผลงานผ่านภาพวาด และบันทึกคาพูดเด็กจากการสังเกต และเปรียบเทียบรูปร่างลักษณะและขนาดของไก่และเป็ดอย่างอิสระ

ขั้นสุดท้าย คือ ขั้นสรุป เด็กนาเสนอผลงานจากการสังเกตรูปร่างลักษณะของไก่และเป็ดผ่านภาพวาดบนกระดาน เด็กได้รู้ว่าไก่และเป็ดมีรูปร่างลักษณะต่างกัน โดยค้นพบคาตอบด้วยตนเองจากการสังเกตและเปรียบเทียบ



 
ประสบการณ์สาคัญที่เด็กๆ ได้รับจากกิจกรรมนี้ คือ การแสดงความรู้สึกด้วยคาพูด การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง การสารวจและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างของไก่และเป็ด การเปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และขนาดของไก่และเป็ด


3.Miss Chanida  Bunnakho

เรื่อง: เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
1. ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต
ผู้ดูเด็กควรจะแนะนำหรือฝึกให้เด็กหัดสังเกตในสิ่งที่เขากำลังสนใจอยู่ เช่น ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะพูดให้เด็กสังเกตว่าตัวหนอนมีลักษณะอย่างไร ตัวหนอนโตขึ้นแล้วมันจะค่อย ๆ กลายเป็นผีเสื้อ


2.สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคนไม่ควรไปบอกกับเด็กว่าหนูไม่เหมาะกับวิทยาศาสตร์ หนูเรียนไม่ได้ เพราะจะไปตอกย้ำให้เด็กรู้สึกเช่นนั้น หรือต้องไม่บอกเด็กว่าโตขึ้นหนูควรจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นหมอ ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ต้องไปตัดสินใจให้เด็ก แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กมีหน้าที่จะต้องให้เด็กทุกคนสนใจวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นเด็กทีเรียนเร็วหรือช้า ให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น สนุก

3.
บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรสรุปว่าผู้ปกครองทุกคนรู้และแนะนำเด็กได้ ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องคอยแนะนำผู้ปกครองด้วย เช่นบอกว่ากิจกรรมที่เด็ก ๆ ทำอยู่นั้นเป็นการสอนวิทยาศาสตร์ในเรื่องอะไร ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจแนะนำผู้ปกครองโดยวิธีการออกจดหมายและชี้แจงว่า ผู้ปกครองอาจจะมีาวนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรมเรื่องนี้ได้โดยวิธีใดบ้าง

4.
ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาซึ่งความสนุกสนานและความพอใจ ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องหาวิธีทำอย่างไรให้เด็กรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก อย่าทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยาก เช่น ขณะสอนเรื่องส่วนต่าง ๆ ของพืชผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรบอกว่าต้นไม้ดูดน้ำจากรากไปเก็บไว้ที่ใบ เพราะนั่นหมายถึงผู้เลี้ยงดูเด็กได้บอกเด็กไปหมดแล้ว เด็กจะรู้สึกว่าไม่มีอะไรน่าสนใจอีกแล้ว

5. สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก
ผู้เลี้ยงดูเด็กควรทำให้เด็กมีความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า เป็นคนมีความสามรถและหัดให้เด็กรู้จักวิธีค้นหาคำตอบด้วยตนเอง เช่น ให้สังเกตว่าทำไมไม้ถึงลอยน้ำได้ ทำไมเกลือจึงละลายน้ำ เด็กจะรู้สึกอยากค้นพบ อยากหาเหตุผล


4. Miss Suangkamon Sutawee
 เรื่อง:หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย จำเป็นหรือไม่ ?
หลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้อย่างครบถ้วนทุกด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ที่เป็นไปตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 และต่อเนื่องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา

 อาจารย์ชุติมา เตมียสถิต หัวหน้าสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) หนึ่งในทีมงานที่ริเริ่มโครงการนี้ กล่าวถึงที่มาของการจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ว่าจากการเยี่ยมชมโรงเรียนปฐมวัยทุกสังกัดทั่วประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549 พบว่าครูปฐมวัยได้สอนวิทยาศาสตร์ในเชิงเนื้อหามากมาย โดยผ่านการบอกเล่า มากกว่าที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น และมีความกระตือรือร้นที่จะสำรวจตรวจสอบหาคำตอบ เนื้อหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ครูสอนถูกแนวคิด (concept) บ้างไม่ถูกบ้าง และจากการสัมภาษณ์ครูถึงแนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ของครู พบว่าครูได้ใช้หลักสูตรปฐมวัย พ.ศ 2546 ของกระทรวงศึกษาธิการเป็นแนวทาง ซึ่งได้กำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ ในสาระที่ควรรู้ 4 สาระ ปัญหาที่ครูต้องคิดต่อจากหลักสูตรนี้คือ ครูจะต้องตอบโจทย์ให้ได้ในว่าแต่ละสาระ ครูจะสอนอะไร สอนแค่ไหน สอนอย่างไร และมีสื่อการเรียนรู้อะไรบ้างที่ควรนำมาใช้

5.Miss Natcharita  Suwanmanee
เรื่อง : ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก

การส่งเสริมกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ในเด็ก โครงการวิทยาศาสตร์ของเด็กในเมืองมักเป็นเรื่องที่สัมพันธ์หรือเกี่ยวเนื่องกับตนเองเป็นส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากการอ่านหนังสือการ์ตูน จึงมุ่งเน้นโครงงานที่เกี่ยวพันกับการประดิษฐ์ของเล่น อาทิ โครงงานประดิษฐ์ตุ๊กตาหุ่นยนต์จากไม้ไผ่ โครงงานประดิษฐ์ผีมหัศจรรย์จากน้ำแข็งแห้ง เป็นต้น
ขณะที่โครงงานวิทยาศาสตร์ของเด็กในชนบทจะมุ่งเน้นโครงงานที่สัมพันธ์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยพยายามนำสิ่งของที่หาได้ง่ายในโรงเรียนและท้องถิ่น หรือสิ่งของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ เช่น โครงงานทำกะปิจากถั่วเน่า โครงงานสมุนไพรชุมชน โครงงานสีย้อมผ้าและโครงงานกระดาษข้าวโพด เป็นต้น โครงงานวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงข้างต้น ถ้ามองเผินๆ อาจดูเหมือนไม่สลักสำคัญอะไร แต่ถ้าพิจารณากันอย่างลึกซึ้งจริงจังแล้ว จะพบว่าโครงงานดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างในวิธีคิด การถูกอบรมเลี้ยงดู บ่มเพาะและลักษณะการดำเนินชีวิต รวมตลอดถึงการให้คุณค่าของสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตระหว่างเด็กในเมือง และเด็กในชนบท



 เทคนิคการสอนของอาจาย์

วันนี้อาจารย์มีสื่อการสอนที่หลากหลาย น่าสนใจ มาให้นักศึกษาได้ลองทำดู ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากทิชชู่  กังหันแบบลูกยาง

ซึ่งอาจารย์ก็ทำเป็นแบบอย่างให้ดูเพราะนักศึกษาบางคนยังไม่เข้าใจ     

การประเมิน( Evaluate )

การประเมินตนเอง
วันนี้รู้สึกตื่นเต้น อย่างบอกไม่ถูกค่ะ เพราะนั่งตามเลขที่ คิดถึงเพื่อนคนที่นั่งข้างกัน แต่ยังไงก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและแนะนำ ฟังบทความที่เพื่อนนำมาฝากเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อย วันนี้ดิฉันก็แต่งตัวเรียบร้อยเหมือนที่เคยค่ะ เก็บผมเรียบร้อยดีมากค่ะ

การประเมินเพื่อน
วันนี้ดูเพื่อนก็ตื่นเต้นไม่น้อยเลยที่ได้นั่งตามเลขที่ และเพื่อนส่วนใหญ่ก็สนใจและตั้งใจฟัง เวลาอาจารย์สอนไม่ค่อยคุยกันค่ะ แต่งกายเรียบร้อยดีมากค่ะ

การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ มีเทคนิคการสอนที่ดี ฝึกให้นักศึกษาได้คิด และกล้าที่จะแสดงออกอย่างถูกต้องและเหมาะสม

สิ่งที่ต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
- การเขียนแผนกลุ่ม ทั้ง 5 วัน
-การเขียนแผ่นเดี่ยว (ได้วันที่ 5)

หมายเหตุ
วันนี้นั่งตามเลขที่ เพาะอาจารย์จะได้สะดวกในการดูความประพฤติ

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:10
Out to Class 12:20
 
 
กิจกรรมที่ทำ
วันนี้อาจาย์เริ่มต้นชั่วโมงด้วยการให้คำแนะนำ และแนวทางการแก้ไขบล็อก ว่าตัวไหนสามารถเพิ่มภาษาอังกฤษได้ให้เพิ่มเติมเพื่อเราจะได้คุ้นเคย
Knowledge
จากนั้นอาจารย์ก็ถามนักศึกษาว่า  '' Constructivism''  สอดคล้องกับการศึกษาปฐมวัยว่า
 
การเรียนรู้ด้วยตนเอง+การลงมือปฏิบัติจริง+สร้างชิ้นงานด้วยตนเอง
 
 
ซึ่งพัฒนาการ ก็คือ การแสดงความสามารถตามอายุ แสดงออกมาแต่ละด้าน ซึ่งเราคาดหวังเราคาดหวังเป็นคุณลักษณะ และเครื่องมือที่ใช้ในการเล่นของเด็กก็คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่ง ดิวอี้  เขาเน้นเด็กเป็นสำคัญและการลงมือปฏิบัติจริง จึงทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้



 จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษสีให้ แล้ววาดภาพให้สัมพันธ์กันทั้งสองด้าน ของหนูวาดเป็น ดอกไม้(flowers) กับ ผีเสื้อ(butterfly)



ตัดกระดาษเสร็จแล้วก็ตกแต่งค่ะ


ติดกาวแล้วใช้ไม้เสียบลูกชิ้นติด





ติดกาวแล้วพับกระดาษติดกัน


เสร็จแล้ว ผลงานของหนู


ประโยชน์ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ คือ ทราบถึงวิธีทำสื่อวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ หาได้ง่ายใกล้ตัว ใช้ได้คุ้มค่า เศษกระดาษสามารถทำอย่างอื่นได้ด้วยค่ะ
 
การเลือกหัวข้องานกลุ่ม ซึ่งกลุ่มพวกเราเลือกเรื่อง ''ไข่'' และยังมีผลงานของเพื่อนๆอีกค่ะ

 
 

จากนั้นอาจารย์ก็ให้เพื่อนออกมานำเสนอบทความ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
 
การส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับพืชนิดต่างๆนั้น พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน ตัวอย่างเช่น การให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมการประกอบอาหารประเภทผัก ผัดผักรวม แกงเลียง แกงส้ม หรือสลัดผัก พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการประกอบอาหาร การช่วยใส่ส่วนประกอบที่เป็นผักลงในกระทะ การเติมเครื่อง ปรุงต่างๆ ขณะที่เด็กช่วยเตรียมผัก พ่อแม่อาจจะถามเด็กว่าผักที่กำลังเตรียมปรุงอาหารมีชื่ออะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร ซึ่งนอกจากกิจกรรมการประกอบอาหารจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชผักชนิดต่างๆแล้ว ยังช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีและสร้างความอบอุ่นระหว่างพ่อ แม่และลูกได้อีกด้วย
 
เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย “เทคนิคการเลือกและเล่านิทานให้ลูกรัก” กิจกรรมที่แสนจะอบอุ่นในชั้นเรียนและในครอบครัว
 
นิทานเป็นสื่อที่เราเห็นทั่วไป เป็นสื่อการเรียนรู้ที่หาง่าย ส่วนใหญ่นำเอามาเล่าให้เด็กฟังเพื่อความเพลิดเพลินแล้วก็จบไป แต่ที่จริงแล้วนิทานเป็นสื่อที่ดี ช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้หลากหลาย ที่เห็นชัดเจน คือ เรื่องของภาษา คำพูด เสียง ยิ่งนิทานที่มีคำซ้ำ ๆ เด็กจะฟังและเลียนแบบคำได้
นอกจากนั้นก็ยังมีความคิดสร้างสรรค์ มีวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และความรู้ด้านต่าง ๆสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้
ดร. อุไรวาส ปรีดีดิลก แนะนำว่า ถ้าหากเป็นไปได้ ผู้เล่านิทานควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า เพื่อวางแผนการสื่อสารกับเด็ก ๆ และจะหยิบยกประเด็นใดมาพูด นิทานบางเล่มที่ไม่มีคำบรรยาย มีแต่ภาพอย่างเดียว ภาพก็จะสื่อให้เข้าใจได้เช่นกัน
 
 
อาจารย์นำสื่อ เรื่อง ความลับของแสงมาให้พวกเราได้สัมผัสกันค่ะ

เห็นกันยังเอ่ย

ขอถ่ายรูปหน่อยค่ะ

เอะส่องอะไรคะ
 
 
การประเมิน(Evaluate)
 
การประเมินตนเอง
วันนี้มาเรียนแต่เช้าเลยค่ะ  แต่งกายเรียบร้อยดีค่ะ ร่วมตอบคำถามของอาจารย์ สนใจฟังคำแนะนำของอาจารย์ ปฏิบัติตามคำสั่งของอาจารย์
 
การประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนตั้งใจเรียนดีมาก ร่วมตอบคำถามกับเพื่อนๆ ส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนค่ะ
 
การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ใช้สื่อในการสอน เป็นสื่อที่สอดคล้องกับการดูวีดีโอเรื่องความลับของแสง เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น
 
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำสื่อที่ครูมอบให้ไปปรับใช้กับการเรียนในรายวิชาอื่นได้ และเทคนิคการตอบคำถามไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นได้อย่างเหมาะสม
 
 
สิ่งที่ศึกษาเพิ่มเติม
-บิดาของการศึกษาปฐมวัยคือ เฟรดริค วิลเฮม ฟรอเบล (Friedrich Wilhelm Froebel) แนวคิดได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาของการอนุบาลศึกษาเป็นผู้วางแนวทางการสอน แบบการได้ลงมือปฏิบัติจริง (Hands-on Learning) ผ่านการเล่น

-ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rouseeau ) “เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว” การให้การศึกษาแก่เด็กต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของเด็กเสียก่อน
-จอนห์น ดิวอี้ (John Dewey) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ผู้สอน มีหน้าที่ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา “การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ(Learning by doing)”

-โจฮันน์ ไฮน์ริค เปสตาลอซซี่ (Johann Heinrich Pestalozzi) เปสตาลอซซี่ เชื่อว่า การศึกษาธรรมชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน เปสตาลอซซี่มุ่งเน้นความคิดของการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม เปสตาลอซซี่กล่าวว่าการจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรรวมถึงการ พัฒนาร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ

-สื่อทีทำในชั้นเรียนทำไมถึงหมุน หนูคิดว่าเราติดกาวให้เป็นแผ่นและแนวเดียวกัน จากนั้นเราก็หมุนถูไม้เสียบทำให้ภาพสามารถหมุนได้

-สัปดาห์หน้านำแกนทิชชู่มา 1 อันต่อ 2 คน
หมายเหตุ
วันนี้เพื่อนไปช่วยถือของสายนิดหนึ่งค่ะ
                           

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

                                  
บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:20
Out to Class 12:20                               
 Article

วิทย์-คณิตปฐมวัย สำคัญอย่างไรต่ออนาคตของชาติ?

ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือนิตยสารสสวท. กับวิชาการดอทคอม

 
Knowledge
 
เป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางว่า การศึกษาปฐมวัย คือ การวางรากฐานการเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อพัฒนาศักยภาพในการคิด และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดั้งนั้น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จึงริเริ่มให้มีโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงวันนี้ ได้นำมาสู่การพัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัยขึ้น
           
             หนึ่งในกิจกรรมคือ การจัดเสวนาในหัวข้อเรื่อง “วิทย์-คณิตปฐมวัย สำคัญอย่างไรต่ออนาคตของชาติ” โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาปฐมวัยและการพัฒนาเด็ก ได้แก่ รศ. ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต นายแพทย์ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ อ. ธิดา พิทักษ์สินสุข กรรมการบริหารสมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ และ ดร.เขมสิริ ประภามนตรีพงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนประภามนตรี เข้าร่วมการเสวนาครั้งนี้


 
รศ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ เริ่มด้วยภาพกว้างของแนวทางจัดการศึกษาในปัจจุบันว่า ในทางวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมรับว่า การเรียนรู้ในช่วงชีวิต 0-6 ขวบ นั้นจะเป็นตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง มนุษย์แต่ละคนจะโตขึ้นเป็นคนอย่างไรขึ้นอยู่กับช่วงวัยนี้ เพราะเซลล์สมองจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเราจึงให้ความสำคัญต่อเด็กในวัยนี้
“คุณภาพของครูเป็นเรื่องที่สำคัญ ครูต้องมีจิตวิญญาณของความเป็นครู ต้องมีโอกาสก้าวหน้า และมีแรงจูงใจให้แก่ครู หลักสูตรต้องเปลี่ยนแปลง คือ 70-30 เปอร์เซ็นต์ระหว่างเล่นและเรียน เด็กปฐมวัยต้องเน้นที่การเล่นมากกว่า ที่สำคัญการปฏิรูปการศึกษาไม่ใช่หน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการอย่างเดียว แต่เป็นหน้าที่ร่วมกันของผู้ปกครองและทุกส่วนในสังคม” ด้านนายแพทย์ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานต์ ในฐานะจิตแพทย์ พูดถึงพัฒนาการทางสมองของเด็กในการเรียนรู้ วิทย์-คณิตว่า ปัจจุบันเราไม่สามารถแยกหน้าที่ของสมองซ้าย-ขวา ออกจากกันได้ และมีการค้นพบที่ต่างออกไปคือ สมองเด็กมีการพัฒนาจากด้านหลังไปด้านหน้า และกระบวนการทำงานของสมองจะมีการจัดระเบียบใยประสาท และเชื่อมใยประสาทซีกซ้าย-ขวา เข้าหากัน โดยเฉพาะในช่วง อายุ 3-5 ปี ทำให้เกิดความสามารถในการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เราจึงค้นพบว่าเด็กปฐมวัยสามารถเรียนภาษาพร้อมๆกันได้หลายภาษา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ปฐมวัย และบูรณาการกิจกรรม ไม่ใช่การแยกกิจกรรม เช่น การใช้ดนตรีในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้
นพ.ยงยุทธ์ ได้กล่าวถึง วิกฤตที่เกิดขึ้นของเด็กวัยนี้ว่า “การที่เด็กไม่ได้รับการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ทำให้ใยประสาทที่มากเกินไปถูกตัดทิ้ง และหากเกิดการเรียนรู้ หรือกระตุ้นในสิ่งผิดจะทำให้เกิดการเรียนรู้ผิดๆไปด้วย เราค้นพบว่า ถ้าจะแก้ปัญหาไอคิว อีคิว สมาธิสั้น หรือปัญหาอื่นๆที่เกิดกับเด็กปัจจุบัน การแก้ที่ดีที่สุดคือแก้ในช่วงปฐมวัย เพราะสมองเด็กสามารถเปลี่ยนแปลง ชดเชยความผิดพลาดเดิมๆ ได้ดีที่สุด” ส่วน อ.ธิดา พิทักษ์สินสุข พูดถึงการเรียนรู้วิทย์-คณิตของเด็กในช่วงปฐมวัยว่า มีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ เนื้อหาความรู้ ,กระบวนการ และเจตคติ ในช่วงเริ่มต้นเจตคติเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการเรียนอะไรด้วยความรักจะนำมาซึ่งความสุข จากนั้นควรมีกระบวนการที่สร้างให้เด็กเป็นนักวิทยาศาสตร์ รู้จักการสืบค้น แต่ปัญหาจากการทำวิจัยเด็กไทยทั่วประเทศ พบว่า ทางด้านสังคมนั้นเด็กไทยปรับตัวได้ดี แต่เรื่องสติปัญญา พื้นฐานด้านคณิต-วิทย์นั้นต้องแก้ไขปรับปรุง ซึ่งสาเหตุใหญ่เกิดจากการเลี้ยงดูในครอบครัวที่ไม่ได้ปลูกฝังให้ใช้เหตุผล โดยยกตัวอย่างว่า เมื่อเด็กหกล้ม พ่อแม่ ผู้ปกครอง ยังใช้วิธีการกล่าวโทษว่าเป็นเพราะพื้นผิวไม่เรียบ แทนที่จะมองว่าเด็กขาดความระมัดระวัง เป็นต้น

           
             สิ่งที่กล่าวมานี้ สอดคล้องกับสิ่งที่นพ.ยงยุทธ์ ได้พูดถึงการเรียนรู้ของสมองว่า สมองจะเรียนรู้จากการได้ลงมือทำจริง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในโรงเรียนอนุบาล หรือศูนย์เด็กเล็กหลายๆแห่งคือ คุณครูให้เด็กทำกิจกรรมในกระดาษ ดังนั้นสิ่งที่ต้องส่งเสริมคือการให้เด็กได้ลงมือทำจริง เขาจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น คุณครูต้องบูรณาการการเรียนการสอนมากขึ้น มีนวัตกรรมใหม่ๆในการสอน โดยการต่อยอดจาก 6 กิจกรรมหลักที่กำหนดไว้ในการศึกษาปฐมวัย

           
           
  วิทยากรทั้ง 4 ท่านสรุปตรงกันว่า การให้การศึกษาวิทย์-คณิตนั้น เรื่องของกระบวนการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญกว่าเนื้อหา และแบบฝึกหัด ดังนั้นจึงต้องมีการทำความเข้าใจกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง เพราะหลายคนเมื่อส่งลูกเข้าเรียนอนุบาลมักจะคาดหวังว่าลูกจะอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเรื่องนี้ ดร.วรากรณ์ เห็นว่า การอ่านออกเขียนได้เป็นสิ่งสำคัญก็จริง เพราะการคิด การอธิบายความจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีความสามารถทางภาษา แต่ไม่ใช่ในระดับอนุบาล แต่ควรจะเริ่มต้นในประดับประถมศึกษาปีที่ 2 ขึ้นไป            

 

                                           
                            
บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:10
Out to Class 12:20

สรุป เรื่อง ความลับของแสง
                                                         
                               Knowledge


วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:20
Out to Class 12:20
 

กิจกรรมที่ทำ
 
วันนี้ต้นชั่วโมง อาจารย์นำเข้าสู่กิจกรรมด้วยการเปิดเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (Science)
 เพราะเราเชื่อว่า     Music=  Knowledge
                               Skills = Perform
 
จากนั้นอาจารย์ก็ให้เพื่อนที่นำเสนอบทความมาเล่าให้เพื่อนฟัง มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
 
 
 
                            


 
 
ภาพประทับใจ


 
 
เทคนิคการสอน
ครูนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการเปิดเพลงให้ฟัง ซึ่งเป็นเพลงที่เกี่ยวกับเนื่อหาที่จะเรียน  และการตั้งคำถามปลายเปิดของอาจารย์เพื่อให้นักศึกษาได้ร่วมกันตอบคำถาม และการคิด กล้าตอบ
 
การประเมิน(Evaluate)


 
การประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งเรียนค่ะ ร่วมตอบคำถามกับอาจารย์และเพื่อนๆ มีส่วนร่วมการทำกิจรรมกับเพื่อน แต่งกายเรียบร้อยและเหมาะสม
 
การประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนคุยกันเสียงดังขณะครูเปิดเพลงให้ฟัง ทำให้ไม่ค่อยได้ยินเสียงเพลงเท่าไหร่ แต่เพื่อนบางคนก็สนใจเรียนดีค่ะ ร่วมตอบคำถามกับเพื่อนๆ ดีมากค่ะ
 
การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มีเทคนิคการสอน และคำแนะนำสำหรับการทำบล็อก และใช้สื่อในการสอน คือ เพลง ความลับของแสง แผ่นชาร์ท
 
การนำไปประยุกต์ใช้
นำเทคนิคการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นๆได้ หรือไปถ่ายทอดให้คนอื่นได้
 
 
สิ่งที่ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
-งานกลุ่ม เลือกเรื่อง เช่น ไข่ ทำในรูปแบบของ Mind mapping
-สรุปเรื่อง ความลับของแสง
 
หมายเหตุ
-ซีดี เรื่องความลับของแสง เปิดไม่ได้ เลยให้ดิฉันไปเผยแพร่เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน


วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

 
บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:25
 Out to Class 12:20
 
กิจกรรมที่ทำ
 
วันนี้อาจารย์อธิบายและให้คำปรึกษาแนะนำเรื่อง การแก้ไขbloggerปรับเปลี่ยนใหม่ให้ดูน่าสนใจมากขึ้น จากนั้นอาจารย์ก็ให้ดิฉันกับเพื่อนๆ ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

  My  Present
Title: วิทย์-คณิตสำหรับเด็กปฐมวัย สำหรับอย่างไรกับอนาคตของชาติ


 

ภาพบรรยากาศการนำเสนอบทความ ของดิฉันและเพื่อน

 

ซึ่งเคราะห์ออกมาได้เป็น Mind mapping ดังนี้

ความรู้ที่ได้รับ(Knowledge)

 
เทคนิคการสอน
 
-ครูใช้วิธีตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วม
-ครูใช้คำถามปลายเปิด
 
การประเมิน(Evaluate)
 
การประเมินตนเอง
 
วันนี้ดิฉันสามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้หลายคำถาม มีส่วนร่วมกับเพื่อนค่ะ แต่งกายเรียบร้อยดี
 
การประเมินเพื่อน
 
วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่ตั้งใจตอบคำถามของอาจารย์ค่ะ แต่มีเพื่อนส่วนน้อยที่ไม่ค่อยตอบคำถามของอาจารย์
 
การประเมินอาจารย์
 
วันนี้อาจารย์เข้าสอนก่อนเวลาค่ะ เพราะอาจารย์มีการเตรียมการสอนมาดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อยค่ะ

การนำไปประยุกต์ใช้

นำความรู้ที่ได้จ่ากอาจารย์และที่เพื่อนอ่านบทความไปปรับใช้กับการเรียนของเรา และสามารถต่อยอดให้ดียิ่งขึ้นไปค่ะ
 
สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติ่ม
 
- ทักษะของวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง
-ในการบันทึกอนุทินแต่ละครั้งต้องใช้ภาษาอังกฤษอย่างน้อย 5 คำ
 
หมายเหตุ
-ปรับปรุง blogger เริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่ 4 เป็นต้นไป สัปดาห์ที่  1-3 ถือว่า blogger ยังไม่นิ่ง 
-สัปดาห์หน้า ผู้อ่านบทความตั้งเตรียมคำถามไว้ถามเพื่อน