คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ



การสรุปวิจัย

เรื่อง:ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ ศึกษาเพิ่มเติมคลิกที่นี่ค่ะ
 
ผู้วิจัย:ชนกพร  ธีระกุล
 
 
 
การนำประยุกต์ใช้
 
นำหลักการและวิธีการสอนในเนื้อหาวิจัย ไปปรับใช้หรือทดลองทำกับเด็กปฐมวัยได้ และสามารถพัฒนาตัวเองให้เก่งได้ตั้งแต่ตอนนี้ โดยไม่ต้องรอให้ผมสองสี อาจารย์จินตนา กล่าวไว้



 


 

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 15

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:10
Out to Class 12:20
กิจกรรมที่ทำ
 
วันนี้เริ่มต้นชั่วโมงด้วยการนำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครู ซึ่งอาจารย์ได้เปิดโอกาสให้นักศึกที่ยังไม่ได้นำเสนอออกมานำเสนอเช่นเดิม และวันนี้เป็นคาบสุดท้ายแล้วที่เรียนในเทอมนี้ และดิฉันขอยกตัวอย่างงานวิจัยที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งมาฝากนะคะ ซึ่งวิทยาศาสตร์ก็มีความสำคัญมากกับเด็กปฐมวัย และยังเชื่อมโยงบูรณาการทักษะรายวิชาศิลปะสร้างสรรค์ด้วย
               
 
                   การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กนักเรียน-หญิง อายุ 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนสามเสนนอก(ประชาราษณ์อนุกูล) สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน จากจำนวน 6 ห้องเรียน แล้วจับฉลากนักเรียนอีกครั้งเพื่อจัดเป็นกลุ่มทดลอง
 
                   เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้าง สรรค์เพื่อการเรียนรู้และแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 ในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Grop Pretest-Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ 1-test Dependent
                   ผลการศึกษาพบว่า
การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้  โดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง พบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
 
จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาจับกลุ่มโดยใช้กลุ่มเดิมที่เขียนแผน 5คน เพื่อที่จะช่วยกันระดมความคิดในหัวข้อที่อาจารย์กำหนดให้คือ สานสัมพันธ์บ้านโรงเรียน
 
วัตุประสงค์
  1. เพื่อเป็นการให้ความรู้ผู้ปกครอง หรือการสื่อสารกับผู้ปกครอง
  2. เพื่อเป็นการบอกความก้าวหน้าในเรื่องของพัฒนาการของลูก
  3. เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมลูก
กลุ่มดิฉันได้แบ่งกันทำคนละคอลัมน์แล้วนำมารวมกันให้เป็นเล่มเดียวกัน ซึ่งวันนี้ดิฉันก็เก็บภาพบรรยายกาศมาฝากค่ะ
 

ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ค่ะ

 เทคนิคการสอนของอาจารย์
 
เน้นกระบวนการ การสอนแบบร่วมมือ และระดมความคิด เพื่อให้เกิดความคิดได้หลายทิศทาง เมื่อนำมารวมกันกับเพื่อนจะทำให้เนื้อหามีใจความที่สมบูรณ์มากขึ้น และบูรณาการทักษะรายวิชาอื่นๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์
 
การประเมิน(Evaluate)
 
การประเมินตนเอง
 
วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และเพื่อนที่นำเสนอวิจัย มีการจดบันทึกทุกครั้งเพื่อเป็นการสะสมความรู้และทบทวนความจำ และร่วมกิจกรรมกับเพื่อนและตอบคำถามของอาจารย์ได้
 
การประเมินเพื่อน
 
เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนค่ะ แต่มีเพื่อนบางคนที่แอบเล่นโทรศัพท์จนอาจารย์ต้องได้เตือน เพื่อนส่วนใหญ่แต่งกายเรียบร้อยดีมากค่ะ
 
การประเมินอาจารย์
 
วันนี้อาจารย์มีสื่อและเทคนิคการสอนมาให้นักศึกษาเช่นเดิม และมีข้อเสนอแนะต่างๆ ที่นักศึกษายังขาด อาจารย์ก็เพิ่มเติมให้ทุกครั้ง และอาจารย์ตั้งใจและทุ่มเทในการสอนทุกครั้ง วันี้ก็เป็นคาบสุดท้ายที่เราได้เจอกัน อาจารย์ก็พูดถึงการใช้ชีวิตในอนาคต การเป็นครูที่ดี และอบรมสั่งสอนนักศึกษาในท้ายชั่วโมงค่ะ
 
การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
 
นำเทคนิคการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้ในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย ว่ากิจกรรมที่เราจัดขึ้นนี้เหมาะกับเด็กปฐมวัยไหม เด็กได้พัฒนาทักษะในด้านไหนอะไรบ้าง เมื่อเราทราบแล้วเราก็สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
 
สิ่งที่ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
 
-อ่านหนังสือสอบ
-ปรับปรุงblogger ให้ดีขึ้น
 
หมายเหตุ
 
สัปดาห์เรียนเป็นครั้งสุดท้าย





บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ

การสรุปโทรทัศน์ครุู






ทดสอบเรื่องเสียง


 
เริ่มต้นเช้าวันนี้ครูสาธิตว่าเสียงมีการทำงานอย่างไร โดยนำวัตถุใส่ลงไปในน้ำและให้เด็กเอาหูลงไปใน

น้ำถามว่าเสียงเดินทางมนน้ำได้หรือไม่  เด็กบอกว่า ได้  จากนั่นครูจะหาวิธีใหม่ๆมาอยู่เสมอเริ่มการ

ทดลองเด็กจะต้องวางงแผน ตัดสินใจเมื่อเสร็จต้องมีการประเมิน ซึ้งใช้เวลาค่อนข้างมาก   การทดลอง



วันนี้เด็กๆต้องหาวิธีกันเสียงนาฬิกาปลุก จะมีวัสดุให้เลือกมากมาย เด็กบางคนบอกว่าต้องใช้ฟอยด์กับ

กระดาษหนาๆไว้อุดเสียงมันจะทำให้ไม่เกิดการสั่น  เด็กจะมีแรงกระตุ้นในการอยากทำ   ครูถามเด็กเรา



จะเปลี่ยนอะไรได้บ้างมีตัวแปรอะไรบ้างที่สามารถเปลี่ยนได้ เด็กคนนึงบอกเราสามารถเพิ่มชั้นของวัสดุ


ได้ เด็กบางคนบอกเปลี่ยนประเภทของวัสดุได้ ครูจะดูความรุ้ใหม่  ครูต้องการให้เด็กตั้งคำถาม ฉันจะ



เปลี่ยนแปลงอะไร ฉันจะเปลี่ยนอะไรไว้่เหมือนเดิม ฉันจะวัดอะไร  แบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 6 กลุ่มให้เด็ก




ตั้งสมมุติฐาน ว่าจะใช้วัสดุใค บางกลุ่มใช้ผ้า บางกลุ่มใช้ฟอยด์ บางกลุ่มใช้พลาสติกห้อหุ้ม  เด็กแต่ละ



กลุ่มได้ลงมือกระทำและมีเครื่องมือวัดเสียงการทดลอง เด็กลองห่อหนาๆ วัดเสียงบางทีได้ 94 เดซิเบล 


 สิ่งสำคัญคือเด็กสามารถใช้ทักษะของเขาในการทำงานด้วยตนเอง เขาทำได้เห็นผลจริงๆ การบันทึกผล



เป็นขั้นตอนมีการจดบันทึก ทำตาราง เด็กส่วนมากไม่ชอบการเขียน เพราะต้องคิดไปด้วยเพราะบันทึก


ต้องทำทุกอย่างของการทดลอง เด็กจึงไม่อยากทำ  ครูให้เด็กบันทึกแบบแผนภูมิแท่งเพ่อความเข้าใจ


มากขึ้น  จากนั่นก็เรียกเด็กๆมาช่วยกันสรุปผลทีละกลุ่ม ศึกษาเพิ่มเติม

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 14

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:10
Out to Class 12:20
กิจกรรมที่ทำ
วันนี้อาจารย์นำเข้าสู่บทเรียนด้วยการถามเรื่อง แผนการจัดประสบการณ์  ว่าไม่เข้าใจตรงไหนโดยถามเป็นรายบุคคลที่ทำแบบนั้นเพราะอาจารย์คิดว่า จะได้เกาได้ตรงจุด เพราะไม่มีใครรู้เท่าตัวเราเอง  เช่น กลุ่มของดิฉันต้องแก้ไขในเรื่องของการเขียน Mind Mapping และแผนผังใยแมงมุม
 
Knowledge 
ส่งสื่อพร้อมนำเสนอสื่อของตัวเอง ว่าเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เรื่องอะไร ทำไม อย่างไร เพราะอะไร จากนั้นก็จัดประเภทของสื่อแต่ละชิ้นและนำทักษะทางวิทยาศาสตร์ไปสอนเด็กปฐมวัยอย่างไร 
วันนี้ดิฉันยกตัวอย่างมาทั้งหมด 3หมวดค่ะ
 
  1.หมวดพลังงาน(Energy)
 

 
เมื่อเราออกแรงหมุนวัตถุไปเรื่อยๆจนหนังยางไม่สามารถยืดได้อีกจะเกิดการสะสมพลังงานในรูปแบบของพลังศักย์ และเมื่อปล่อยวัตถุแล้ววัตถุมีการเคลื่อนที่เรียกว่า พลังงานจล

2.หมวด การจำลองโมเดล


 
3.หมวด อากาศ(Air)


 
เมื่อเราโยนวัตถุขึ้น แล้ววัตถุตกลงสู่พื้นช้า เพราะมีแรงต้านของอากาศกับวัตถุ ทำให้วัตถุลอยอยู่ในอากาศได้นานมากขึ้น
 
 จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาที่ยังไม่นำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัย  ออกมานำเสนอดังนี้
 
1.เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช
 
เป็นเรื่องของการเร่งการเจริญเติบโตของพืช โดยการกระตุ้นกระแสไฟฟ้า เข้าไปที่พืชทำให้พืชโตวัย ภายใน 2-3 วัน
 
2.เรื่อง การละลายของสาร
 
อุปกรณ์ทีใช้ในการทดลอง
  1. ตะปู
  2. กระดาษ
  3. โฟม
  4. ทราย
  5. น้ำตาล
  6. เกลือ
  7. แฟ้บ
ผลการทดลอง ปรากฏว่า น้ำตาลกับเกลือ=ละลายได้
    ทราย+กระดาษ+โฟม+ตะปู=ไม่ละลายน้ำ
  แฟ้บ=ละลายน้ำได้ดีที่สุด
 
*ข้อควรระวัง เมื่อละลายแฟ้มกับน้ำแล้ว ไม่ควรเทลงไปในแหล่งน้ำ แต่สามารถเทน้ำเปล่า เพื่อเจือจางสารเคมีให้จางลง แล้วจึงนำไปรดต้นไม้
Activity
คุณสมบัติของน้ำ
 
1. อุปกรณ์การทำหวานเย็น

2.ผสมน้ำกับน้ำเฮรูบอยจากนั้นก็กรอกน้ำใส่ถุงพลาสติก

3.กรอกเสร็จแล้ว ก็มัดปากถุงค่ะ


4.เสร็จแล้วค่ะ


5.ผสมเกลือแล้วเขย่าไปเรื่อยๆ




สำเร็จแล้วค่ะ หวานเย็นของเรา
 
 
 
 
เทคนิคการสอนของอาจารย์
 
อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบให้นักศึกษาร่วมมือกันระดมความคิดในการร่วมตอบคำถาม ที่อาจารย์กระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดและแสดงความคิดเห็น โดยมีสื่อการสอนที่หลากหลายและบูรณาการทักษะเข้ากับรายวิชาอื่นๆ
 
 
การประเมิน(Evaluate)
 
การประเมินตนเอง
 
วันนี้ตั้งใจเรียนดีค่ะ จดบันทึกตามที่อาจารย์สอนเพื่อเป็นการเตือนความจำให้กับตนเอง และเป็นแนวทางในการเขียน Blogger ให้ดีมากขึ้น สามารถร่วมตอบคำถามกับเพื่อนและครููได้ แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ไม่พูดคุยกับเพื่อนขณะที่ครูสอน และตื่นเต้นกับกิจกรรมที่ครูเตรียมมาให้นักศึกษาทำ
 
การประเมินเพื่อน
 
วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมดี ร่วมสนทนาโต้ตอบคำถามกับครู  ตื่นเต้นกับกิจกรรมที่ครูจัดให้ทำ 
 
การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มีสื่อการสอนที่หลากหลายเช่นเคย ไม่ว่าจะเป็น การจัดกิจกรรมคุณสมบัติของน้ำ  เป็นการทดลองที่สนุก ทำให้นักศึกษาไม่เบื่อ กิจกรรมที่อาจารย์จัดขึ้น จะได้บูรณาการที่หลากหลายเช่น  วิทยาศาสตร์ ในเรื่องของ การเปลี่ยนสถานะของน้ำ คณิศาสตร์ เรื่องการคาดคะเน การวัด และการตวง ในการกรอกน้ำหวานเย็นใส่ถุงพลาสติก
 
สิ่งที่ศึกษาเพิ่มเติม
 
-สัปดาห์หน้าสอบ และส่งแผน ทุกกลุ่ม
 
หมายเหตุ
 
วันนี้ส่งสื่อพร้อมนำเสนอสื่ออีกครั้ง
 
 
 
 


 

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:10
Out to Class 12:20
กิจกรรมที่ทำ
 
วันนี้เป็นวันพุธซึ่งไม่ใช่วันที่เราเรียนจริงๆ แต่เนื่องจากนักศึกษาติดภารกิจการจัดกิจกรรมและได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์เลยเปลี่ยนเวลาย้ายมาเรียนวันนี้    ซึ่งวันนี้อาจารย์ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ยังสอบสอนไม่ผ่าน สอบอีกครั้ง ได้แก่  หน่วยดิน( Soil )  หน่วยสับปะรด( Pineapple ) ซึ่งมีกระบวนการสอนดังนี้ค่ะ
 
1.Unit Soil
กระบวนการสอน
 
 
 
ภาพบรรยากาศการสอน


 
 
2.Unit Pineapple
กระบวนการสอน


 
 
ภาพบรรยากาศการสอน


  
 
Activity
 
การทำ Waffle
 
  อุปกรณ์(Equipment)
 
      1. แป้ง(Flour)
      2. ไข่ไก่(Eggs)
      3. น้ำ(Water)
      4. นมสด(Fresh Milk)
      5. ที่ตีไข่
      6. เนย(Buutter)
      7. ถ้วย(Cup)
      8. ช้อน(Spoon)
      9. เครื่องทำวาฟเฟิล
 
อาจารย์แนะะนำก่อนทำ วาฟเฟิล และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่าง และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง
 

 
Steps
 



1.เทแป้ง ตอกไข่ไก่ เนย  น้ำ  และนมสด  ใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
และคนจนเป็นเนื้อเดียวกัน
 
 
 
2. เมื่อคนจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ใช้ช้อนตัก 1 ช้อนตวง ใส่ถ้วยเพื่อที่จะไปทำให้สุกด้วยเครื่องทำวาฟเฟิล
 


 
3.ใช้แปลงทาด้วยเนยมาการีน  จากนั้นเทวาฟเฟิลที่เราปรุงเรียบร้อยเทบนเครื่องทำวาฟเฟิล
 
 
 
4.รอประมาณ 5 นาที วาฟเฟิลก็สุก
 
 
 
เทคนิคการสอนของอาจารย์
 
อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาสอนแก้ตัวใหม่ เพื่อที่จะได้ปรับปรุงในสิ่งที่ควรปรับปรุงและส่งเสริมในสิ่งที่ถูกต้อง และเปิดโกาสให้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำกิจกรรม เช่น การทำวาฟเฟิล และให้นักศึกษาร่วมระดมความคิด ในการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง ทุกอย่างที่อาจารย์สอนล้วนบูรณาการเข้ากับทุกวิชาได้ทั้งสิ้น
 
การประเมิน (Evaluate)
 
การประเมินตนเอง
วันนี้ช่วยอาจารย์ยกอุปกรณ์ที่จะทำวาฟเฟิล เวลาเรียนตั้งใจเรียนดีตื่นเต้นมากเพราะจะได้ทำวาฟเฟิลทานเอง จากนั้นร่วมสนทนาโต้ตอบกับเพื่อนและอาจารย์ จดบันทึกตามที่อาจารย์ให้คำแนะนำเพื่อที่จะจำได้
 
การประเมินเพื่อน
 
วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่แต่งกายเรียบร้อยดี แต่มีบางคนที่ยังแต่งการไม่เรียบร้อยเท่าไหร่ วันนี้เพื่อนทุกคนดูตื่นเต้นมากเพราะจะได้ทำวาฟเฟิลกัน
 
การประเมินอาจารย์
 
อาจารย์มีสื่อการสอนที่หลากหลายรวมทั้งเทคนิคต่างๆ ในการสอน ไม่ว่าจะเป็นการบูรณาการทักษะารยวิชาอื่นๆเช่น คณิตศาสตร์ ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น
 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
 
เมื่อเราทราบวัตถุประสงค์ของอาจารย์ที่สอนเรา เราก็เข้าใจและสามารถนำไปปรับความรู้ได้มากขึ้น ถ้าเรามีกรอบแนวทางของเรา เราก็สามารถนำไปประยุกต์ให้ยืดหยุ่นและดีขึ้นได้
 
สิ่งที่ศึกษาเพิ่มเติม
-สัปดาห์หน้านำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู หมดทุกคน
 
หมายเหตุ
-วันนี้เรียนวันพุธ ปกติต้องเรียนวันอังคารเช้า