คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 14

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:10
Out to Class 12:20
กิจกรรมที่ทำ
วันนี้อาจารย์นำเข้าสู่บทเรียนด้วยการถามเรื่อง แผนการจัดประสบการณ์  ว่าไม่เข้าใจตรงไหนโดยถามเป็นรายบุคคลที่ทำแบบนั้นเพราะอาจารย์คิดว่า จะได้เกาได้ตรงจุด เพราะไม่มีใครรู้เท่าตัวเราเอง  เช่น กลุ่มของดิฉันต้องแก้ไขในเรื่องของการเขียน Mind Mapping และแผนผังใยแมงมุม
 
Knowledge 
ส่งสื่อพร้อมนำเสนอสื่อของตัวเอง ว่าเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เรื่องอะไร ทำไม อย่างไร เพราะอะไร จากนั้นก็จัดประเภทของสื่อแต่ละชิ้นและนำทักษะทางวิทยาศาสตร์ไปสอนเด็กปฐมวัยอย่างไร 
วันนี้ดิฉันยกตัวอย่างมาทั้งหมด 3หมวดค่ะ
 
  1.หมวดพลังงาน(Energy)
 

 
เมื่อเราออกแรงหมุนวัตถุไปเรื่อยๆจนหนังยางไม่สามารถยืดได้อีกจะเกิดการสะสมพลังงานในรูปแบบของพลังศักย์ และเมื่อปล่อยวัตถุแล้ววัตถุมีการเคลื่อนที่เรียกว่า พลังงานจล

2.หมวด การจำลองโมเดล


 
3.หมวด อากาศ(Air)


 
เมื่อเราโยนวัตถุขึ้น แล้ววัตถุตกลงสู่พื้นช้า เพราะมีแรงต้านของอากาศกับวัตถุ ทำให้วัตถุลอยอยู่ในอากาศได้นานมากขึ้น
 
 จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาที่ยังไม่นำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัย  ออกมานำเสนอดังนี้
 
1.เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช
 
เป็นเรื่องของการเร่งการเจริญเติบโตของพืช โดยการกระตุ้นกระแสไฟฟ้า เข้าไปที่พืชทำให้พืชโตวัย ภายใน 2-3 วัน
 
2.เรื่อง การละลายของสาร
 
อุปกรณ์ทีใช้ในการทดลอง
  1. ตะปู
  2. กระดาษ
  3. โฟม
  4. ทราย
  5. น้ำตาล
  6. เกลือ
  7. แฟ้บ
ผลการทดลอง ปรากฏว่า น้ำตาลกับเกลือ=ละลายได้
    ทราย+กระดาษ+โฟม+ตะปู=ไม่ละลายน้ำ
  แฟ้บ=ละลายน้ำได้ดีที่สุด
 
*ข้อควรระวัง เมื่อละลายแฟ้มกับน้ำแล้ว ไม่ควรเทลงไปในแหล่งน้ำ แต่สามารถเทน้ำเปล่า เพื่อเจือจางสารเคมีให้จางลง แล้วจึงนำไปรดต้นไม้
Activity
คุณสมบัติของน้ำ
 
1. อุปกรณ์การทำหวานเย็น

2.ผสมน้ำกับน้ำเฮรูบอยจากนั้นก็กรอกน้ำใส่ถุงพลาสติก

3.กรอกเสร็จแล้ว ก็มัดปากถุงค่ะ


4.เสร็จแล้วค่ะ


5.ผสมเกลือแล้วเขย่าไปเรื่อยๆ




สำเร็จแล้วค่ะ หวานเย็นของเรา
 
 
 
 
เทคนิคการสอนของอาจารย์
 
อาจารย์ใช้เทคนิคการสอนแบบให้นักศึกษาร่วมมือกันระดมความคิดในการร่วมตอบคำถาม ที่อาจารย์กระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดและแสดงความคิดเห็น โดยมีสื่อการสอนที่หลากหลายและบูรณาการทักษะเข้ากับรายวิชาอื่นๆ
 
 
การประเมิน(Evaluate)
 
การประเมินตนเอง
 
วันนี้ตั้งใจเรียนดีค่ะ จดบันทึกตามที่อาจารย์สอนเพื่อเป็นการเตือนความจำให้กับตนเอง และเป็นแนวทางในการเขียน Blogger ให้ดีมากขึ้น สามารถร่วมตอบคำถามกับเพื่อนและครููได้ แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสม ไม่พูดคุยกับเพื่อนขณะที่ครูสอน และตื่นเต้นกับกิจกรรมที่ครูเตรียมมาให้นักศึกษาทำ
 
การประเมินเพื่อน
 
วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมดี ร่วมสนทนาโต้ตอบคำถามกับครู  ตื่นเต้นกับกิจกรรมที่ครูจัดให้ทำ 
 
การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มีสื่อการสอนที่หลากหลายเช่นเคย ไม่ว่าจะเป็น การจัดกิจกรรมคุณสมบัติของน้ำ  เป็นการทดลองที่สนุก ทำให้นักศึกษาไม่เบื่อ กิจกรรมที่อาจารย์จัดขึ้น จะได้บูรณาการที่หลากหลายเช่น  วิทยาศาสตร์ ในเรื่องของ การเปลี่ยนสถานะของน้ำ คณิศาสตร์ เรื่องการคาดคะเน การวัด และการตวง ในการกรอกน้ำหวานเย็นใส่ถุงพลาสติก
 
สิ่งที่ศึกษาเพิ่มเติม
 
-สัปดาห์หน้าสอบ และส่งแผน ทุกกลุ่ม
 
หมายเหตุ
 
วันนี้ส่งสื่อพร้อมนำเสนอสื่ออีกครั้ง
 
 
 
 


 

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:10
Out to Class 12:20
กิจกรรมที่ทำ
 
วันนี้เป็นวันพุธซึ่งไม่ใช่วันที่เราเรียนจริงๆ แต่เนื่องจากนักศึกษาติดภารกิจการจัดกิจกรรมและได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์เลยเปลี่ยนเวลาย้ายมาเรียนวันนี้    ซึ่งวันนี้อาจารย์ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ยังสอบสอนไม่ผ่าน สอบอีกครั้ง ได้แก่  หน่วยดิน( Soil )  หน่วยสับปะรด( Pineapple ) ซึ่งมีกระบวนการสอนดังนี้ค่ะ
 
1.Unit Soil
กระบวนการสอน
 
 
 
ภาพบรรยากาศการสอน


 
 
2.Unit Pineapple
กระบวนการสอน


 
 
ภาพบรรยากาศการสอน


  
 
Activity
 
การทำ Waffle
 
  อุปกรณ์(Equipment)
 
      1. แป้ง(Flour)
      2. ไข่ไก่(Eggs)
      3. น้ำ(Water)
      4. นมสด(Fresh Milk)
      5. ที่ตีไข่
      6. เนย(Buutter)
      7. ถ้วย(Cup)
      8. ช้อน(Spoon)
      9. เครื่องทำวาฟเฟิล
 
อาจารย์แนะะนำก่อนทำ วาฟเฟิล และสาธิตให้ดูเป็นตัวอย่าง และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง
 

 
Steps
 



1.เทแป้ง ตอกไข่ไก่ เนย  น้ำ  และนมสด  ใส่ภาชนะที่เตรียมไว้
และคนจนเป็นเนื้อเดียวกัน
 
 
 
2. เมื่อคนจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ใช้ช้อนตัก 1 ช้อนตวง ใส่ถ้วยเพื่อที่จะไปทำให้สุกด้วยเครื่องทำวาฟเฟิล
 


 
3.ใช้แปลงทาด้วยเนยมาการีน  จากนั้นเทวาฟเฟิลที่เราปรุงเรียบร้อยเทบนเครื่องทำวาฟเฟิล
 
 
 
4.รอประมาณ 5 นาที วาฟเฟิลก็สุก
 
 
 
เทคนิคการสอนของอาจารย์
 
อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาสอนแก้ตัวใหม่ เพื่อที่จะได้ปรับปรุงในสิ่งที่ควรปรับปรุงและส่งเสริมในสิ่งที่ถูกต้อง และเปิดโกาสให้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำกิจกรรม เช่น การทำวาฟเฟิล และให้นักศึกษาร่วมระดมความคิด ในการทำกิจกรรมแต่ละครั้ง ทุกอย่างที่อาจารย์สอนล้วนบูรณาการเข้ากับทุกวิชาได้ทั้งสิ้น
 
การประเมิน (Evaluate)
 
การประเมินตนเอง
วันนี้ช่วยอาจารย์ยกอุปกรณ์ที่จะทำวาฟเฟิล เวลาเรียนตั้งใจเรียนดีตื่นเต้นมากเพราะจะได้ทำวาฟเฟิลทานเอง จากนั้นร่วมสนทนาโต้ตอบกับเพื่อนและอาจารย์ จดบันทึกตามที่อาจารย์ให้คำแนะนำเพื่อที่จะจำได้
 
การประเมินเพื่อน
 
วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่แต่งกายเรียบร้อยดี แต่มีบางคนที่ยังแต่งการไม่เรียบร้อยเท่าไหร่ วันนี้เพื่อนทุกคนดูตื่นเต้นมากเพราะจะได้ทำวาฟเฟิลกัน
 
การประเมินอาจารย์
 
อาจารย์มีสื่อการสอนที่หลากหลายรวมทั้งเทคนิคต่างๆ ในการสอน ไม่ว่าจะเป็นการบูรณาการทักษะารยวิชาอื่นๆเช่น คณิตศาสตร์ ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น
 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
 
เมื่อเราทราบวัตถุประสงค์ของอาจารย์ที่สอนเรา เราก็เข้าใจและสามารถนำไปปรับความรู้ได้มากขึ้น ถ้าเรามีกรอบแนวทางของเรา เราก็สามารถนำไปประยุกต์ให้ยืดหยุ่นและดีขึ้นได้
 
สิ่งที่ศึกษาเพิ่มเติม
-สัปดาห์หน้านำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู หมดทุกคน
 
หมายเหตุ
-วันนี้เรียนวันพุธ ปกติต้องเรียนวันอังคารเช้า
 
     

     

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:10
Out to Class 12:20
กิจกรรมที่ทำ
 
วันนี้เริ่มต้นชั่วโมงด้วยแนะนำแผน และอาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ยังไม่สอน ออกไปสอน ซึ่งวันนี้ก็มีหลายหน่วย   เช่น Orange   Ant  Pineapple Durian Soil water 
 
Knowledge
 
1.Unit Pineapple
 
เนื้อหา: ประโยชน์ของสับปะรด
 
 ดิฉันวิเคราะห์กระบวนการสอนเป็นแผนผังความคิดได้ดังนี้ค่ะ
 
                           
 
                                                        ภาพกิจกรรมการสอน
                                                    
                        
 
         
2.Unit Orange
 
เนื้อหา:ชนิดของส้ม
 
ดิฉันวิเคราะห์กระบวนการสอนเป็นแผนผังความคิดได้ดังนี้ค่ะ 
 
 
 
 
 
ภาพกิจกรรมการสอน 
 
 
 
3.Unit Durian
 
เนื้อหา:ชนิดของทุเรียน
 
ขั้นนำ
-ครูนำภาพทุเรียนแต่ละชนิดมาให้เด็กดู
 
ขั้นสอน
-ครูใช้คำถามกับเด็กว่า
''ทุเรียนที่ครูถืออยู่เป็นทุเรียนพันธ์อะไร''?
-ครูจดบันทึกคำตอบของเด็กลงบนแผ่นชาร์ต
 
ขั้นสรุป
- เด็กและครูร่วมกันทบทวนทุเรียนแต่ละชนิด ว่ามีพันธ์อะไรบ้าง 
 
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์
ควรเลือกหน่วยที่เหมาะสมกับภูมิภาคตนเอง เช่น ถ้าจะเลือกหน่วยทุเรียน ควรอยู่แถวจังหวัดชลบุรี ระยอง  และเด็กจะได้ทราบว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง และควรมีการเตรียมตัวที่พร้อมกว่านี้ และศึกษาเทคนิคและเนื้อหาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
 
 
 
ภาพบรรยากาศการสอน
 
 
 
 
4.Unit Ant
 
เนื้อหา:ลักษณะของมด
 
ขั้นนำ
เด็กและครูร่วมกันร้องเพลง มด
โดยมีเนื่้อเพลงดังนี้  *ไม่ทราบนามผู้แต่ง
มด มด มด     หนูเคยเห็นมดหรือเปล่า
มดมันตัวเล็กและเบา      มีขายาวๆ เดินหากัน
มีบ้านใต้ดินเรียกว่ารัง     หนูๆจงฟังไว้เอย
 
ขั้นสอน
1.ครูให้เด็กเปรียบเทียบลักษณะของมด ว่ามีส่วนไหนบ้างของมดที่เหมือนกัน
2.ครูบันทึกคำตอบของเด็กลงบนแผ่นชาร์ต
ขั้นสรุปฏและครูร่วมกันสรุปลักษณะของมด อีกครั้ง
 
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์
ควรใช้คำพูดที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยและพูดให้เป็นธรรมชาติ
ไม่ควรนำกลิ่นของมดมาเป็นสาระการเรียนรู็  เพราะเราไม่สามารถดมกลิ่นตัวมดได้ ควรนำสิ่งที่มันชัดเจนสามารถพิสูจน์ได้
                                 
                                     ภาพบรรยากาศการสอน


 
 
5.Unit Soil
 
เนื้อหา:ชนิดของดิน
 
ขั้นนำ
 
1.ครูร้องเพลงให้เด็กฟัง 1 รอบ
2.เด็กและครูร่วมกันร้องเพลง ดิน
โดยมีเนื้อหาต่อไปนี้
 
    เพลงดิน   พวงผกา (ผู้แต่ง)
 
 ดิน ดิน ดิน
ดินมีหลายชนิด
ดินร่วน ดินเหนียว ดินทราย
เด็กๆลองทายคือดินอะไร
 
 
ขั้นสอน
 
1.ครูให้ตัวแทนออกมานับจำนวน
2.แล้วให้ปักตัวเลขฮินดูอารบิก
3เด็กและครูช่วยกันนับจำนวนดิน
 
ขั้นสรุป
เด็กและครูร่วมกันร้องเพลงดิน อีกครั้ง
 
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์
 
การสอนหน่วย ชนิดของดิน จะคล้ายๆวันที่ 1 ของหน่วยส้ม
ควรนำดินแต่ละชนิดมาเปรียบเทียบความแตกต่างของดิน
 
6.Unit Water
 
เนื้อหา: การทดลองน้ำ
 
 
 
สิ่งที่ประทับใจ: การทดลองของเพื่อน
มีเรื่อง การไหลของน้ำ = จากที่สูงลงที่ต่ำ   
การระเหย = นำเทียนไขมาจ่อที่ก้นแก้ว โดยแก้วนั้นบรรจุน้ำแข็งอยู่ เมื่อจ่อนานๆจะทำให้น้ำแข็งละลาย และเกิดเป็นหยดน้ำที่ข้างแก้ว
 
 
กิจกรรมพิเศษที่อาจารย์จัดขึ้น
 
1.ฐานตัดกระดาษเป็นรูปทรงกลมเพื่อซับน้ำมันไม่ให้เปื้อนภาชนะ
 
2.ฐานส่วนประกอบ คือ ปูอัด  ต้นหอม แครอท

3.ฐานตอกไข่และตีไข่ เพื่อนำปรุงในฐานที่ 4
 
 
4.ฐาน การปรุงส่วนผสมต่างๆ คือ
-ตักไข่ 1 ทัพพี
               -ใส่ต้อมหอม 1 ช้อนโต๊ะ
            -ใส่แครอท 1 ช้องโต๊ะ
              -ใส่ข้าวสุก 1/2ช้อนโต๊ะ
                     -ใส่ซอสแม็กกี้ 1/2 ช้อนโต๊ะ
  
5.ฐานประกอบอาหาร ฐานนี้จะชัดเจนในเรื่องของวิทยาศาสตร์
เพราะไข่เปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็งและเปลี่ยน
รูปร่างไปตามภาชนะ
***เป็นกิจกรรมที่ประทับใจมากค่ะ เพราะนักศึกษาได้ลงมีกระทำเองมีการลองผิดลองถูก และบูรณาการทักษะต่างๆ เช่น การตวง และวัด ทำให้ดิฉันรู้ว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เราเรียนมา เช่น การสังเกต การเปรียบเทียบ สามารถนำมาประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้และจัดประสบการณ์ให้เด็กได้ถูกต้องและเหมาะสมตามวุฒิภาวะของเด็ก

เทคนิคการสอนของอาจารย์

อาจารย์มีสื่อการสอนที่หลากหลาย ทำให้นักศึกษาได้ฝึกคิดในที่หลากหลายมากขึ้น มีการบูรณาทักษะต่างๆ ในรายๆวิชา เช่น คณิตศาสตร์

 การประเมิน(Evaluate)
 
การประเมินตนเอง
 
วันนี้ดิฉันมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพิเศษช่วยอาจารย์ด้วยความเต็มใจ ร่วมสนทนาซักถามกับเพื่อนสามารถนำทฤษฏีในห้องเรียนมาปรับใช้กับการจัดกิจกรรมได้
 
การประเมินเพื่อน
 
วันนี้เพื่อนทุกคนรู้สึกตื่นเต้นมากๆ หลังจากเห็นอุปกรณ์ที่อาจารย์นำมา และเพื่อนๆก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเป็นอย่างดี
 
การประเมินประอาจารย์
 
วันนี้อาจารย์มีคำแนะนำและเทคนิคการสอนที่แปลกใหม่มาให้นักศึกษา และแนะนำแผนว่าขาดหายอะไรบ้างและเติมเต็มให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
 
การนำไปประยุกต์ใช้
 
สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในอนาคตอย่างหน้าเวลาที่เราเป็นนักศึกษาฝึกสอน เราก็มีทักษะและการบวนการสอนไปใช้กับเด็กและจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
 
สิ่งต้องศึกษาเพิ่มเติม
 
-ปรับปรุง blogger  ให้ดีขึ้นและน่าสนใจยิ่งขึ้น
-ปรับแผนใหเถูกต้องตามคำแนะนำของอาจารย์
 
หมายเหตุ
 
วันนี้ทำทาโกยากิ อร่อยมากๆค่ะ