คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ



การสรุปวิจัย

เรื่อง:ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ ศึกษาเพิ่มเติมคลิกที่นี่ค่ะ
 
ผู้วิจัย:ชนกพร  ธีระกุล
 
 
 
การนำประยุกต์ใช้
 
นำหลักการและวิธีการสอนในเนื้อหาวิจัย ไปปรับใช้หรือทดลองทำกับเด็กปฐมวัยได้ และสามารถพัฒนาตัวเองให้เก่งได้ตั้งแต่ตอนนี้ โดยไม่ต้องรอให้ผมสองสี อาจารย์จินตนา กล่าวไว้



 


 

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 15

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:10
Out to Class 12:20
กิจกรรมที่ทำ
 
วันนี้เริ่มต้นชั่วโมงด้วยการนำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครู ซึ่งอาจารย์ได้เปิดโอกาสให้นักศึกที่ยังไม่ได้นำเสนอออกมานำเสนอเช่นเดิม และวันนี้เป็นคาบสุดท้ายแล้วที่เรียนในเทอมนี้ และดิฉันขอยกตัวอย่างงานวิจัยที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งมาฝากนะคะ ซึ่งวิทยาศาสตร์ก็มีความสำคัญมากกับเด็กปฐมวัย และยังเชื่อมโยงบูรณาการทักษะรายวิชาศิลปะสร้างสรรค์ด้วย
               
 
                   การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กนักเรียน-หญิง อายุ 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนสามเสนนอก(ประชาราษณ์อนุกูล) สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างด้วยการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน จากจำนวน 6 ห้องเรียน แล้วจับฉลากนักเรียนอีกครั้งเพื่อจัดเป็นกลุ่มทดลอง
 
                   เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้าง สรรค์เพื่อการเรียนรู้และแบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 ในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Grop Pretest-Posttest Design และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ 1-test Dependent
                   ผลการศึกษาพบว่า
การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้  โดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง พบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
 
จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาจับกลุ่มโดยใช้กลุ่มเดิมที่เขียนแผน 5คน เพื่อที่จะช่วยกันระดมความคิดในหัวข้อที่อาจารย์กำหนดให้คือ สานสัมพันธ์บ้านโรงเรียน
 
วัตุประสงค์
  1. เพื่อเป็นการให้ความรู้ผู้ปกครอง หรือการสื่อสารกับผู้ปกครอง
  2. เพื่อเป็นการบอกความก้าวหน้าในเรื่องของพัฒนาการของลูก
  3. เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมลูก
กลุ่มดิฉันได้แบ่งกันทำคนละคอลัมน์แล้วนำมารวมกันให้เป็นเล่มเดียวกัน ซึ่งวันนี้ดิฉันก็เก็บภาพบรรยายกาศมาฝากค่ะ
 

ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ค่ะ

 เทคนิคการสอนของอาจารย์
 
เน้นกระบวนการ การสอนแบบร่วมมือ และระดมความคิด เพื่อให้เกิดความคิดได้หลายทิศทาง เมื่อนำมารวมกันกับเพื่อนจะทำให้เนื้อหามีใจความที่สมบูรณ์มากขึ้น และบูรณาการทักษะรายวิชาอื่นๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์
 
การประเมิน(Evaluate)
 
การประเมินตนเอง
 
วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และเพื่อนที่นำเสนอวิจัย มีการจดบันทึกทุกครั้งเพื่อเป็นการสะสมความรู้และทบทวนความจำ และร่วมกิจกรรมกับเพื่อนและตอบคำถามของอาจารย์ได้
 
การประเมินเพื่อน
 
เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนค่ะ แต่มีเพื่อนบางคนที่แอบเล่นโทรศัพท์จนอาจารย์ต้องได้เตือน เพื่อนส่วนใหญ่แต่งกายเรียบร้อยดีมากค่ะ
 
การประเมินอาจารย์
 
วันนี้อาจารย์มีสื่อและเทคนิคการสอนมาให้นักศึกษาเช่นเดิม และมีข้อเสนอแนะต่างๆ ที่นักศึกษายังขาด อาจารย์ก็เพิ่มเติมให้ทุกครั้ง และอาจารย์ตั้งใจและทุ่มเทในการสอนทุกครั้ง วันี้ก็เป็นคาบสุดท้ายที่เราได้เจอกัน อาจารย์ก็พูดถึงการใช้ชีวิตในอนาคต การเป็นครูที่ดี และอบรมสั่งสอนนักศึกษาในท้ายชั่วโมงค่ะ
 
การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
 
นำเทคนิคการสอนของอาจารย์ไปปรับใช้ในการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย ว่ากิจกรรมที่เราจัดขึ้นนี้เหมาะกับเด็กปฐมวัยไหม เด็กได้พัฒนาทักษะในด้านไหนอะไรบ้าง เมื่อเราทราบแล้วเราก็สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
 
สิ่งที่ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
 
-อ่านหนังสือสอบ
-ปรับปรุงblogger ให้ดีขึ้น
 
หมายเหตุ
 
สัปดาห์เรียนเป็นครั้งสุดท้าย





บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ

การสรุปโทรทัศน์ครุู






ทดสอบเรื่องเสียง


 
เริ่มต้นเช้าวันนี้ครูสาธิตว่าเสียงมีการทำงานอย่างไร โดยนำวัตถุใส่ลงไปในน้ำและให้เด็กเอาหูลงไปใน

น้ำถามว่าเสียงเดินทางมนน้ำได้หรือไม่  เด็กบอกว่า ได้  จากนั่นครูจะหาวิธีใหม่ๆมาอยู่เสมอเริ่มการ

ทดลองเด็กจะต้องวางงแผน ตัดสินใจเมื่อเสร็จต้องมีการประเมิน ซึ้งใช้เวลาค่อนข้างมาก   การทดลอง



วันนี้เด็กๆต้องหาวิธีกันเสียงนาฬิกาปลุก จะมีวัสดุให้เลือกมากมาย เด็กบางคนบอกว่าต้องใช้ฟอยด์กับ

กระดาษหนาๆไว้อุดเสียงมันจะทำให้ไม่เกิดการสั่น  เด็กจะมีแรงกระตุ้นในการอยากทำ   ครูถามเด็กเรา



จะเปลี่ยนอะไรได้บ้างมีตัวแปรอะไรบ้างที่สามารถเปลี่ยนได้ เด็กคนนึงบอกเราสามารถเพิ่มชั้นของวัสดุ


ได้ เด็กบางคนบอกเปลี่ยนประเภทของวัสดุได้ ครูจะดูความรุ้ใหม่  ครูต้องการให้เด็กตั้งคำถาม ฉันจะ



เปลี่ยนแปลงอะไร ฉันจะเปลี่ยนอะไรไว้่เหมือนเดิม ฉันจะวัดอะไร  แบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 6 กลุ่มให้เด็ก




ตั้งสมมุติฐาน ว่าจะใช้วัสดุใค บางกลุ่มใช้ผ้า บางกลุ่มใช้ฟอยด์ บางกลุ่มใช้พลาสติกห้อหุ้ม  เด็กแต่ละ



กลุ่มได้ลงมือกระทำและมีเครื่องมือวัดเสียงการทดลอง เด็กลองห่อหนาๆ วัดเสียงบางทีได้ 94 เดซิเบล 


 สิ่งสำคัญคือเด็กสามารถใช้ทักษะของเขาในการทำงานด้วยตนเอง เขาทำได้เห็นผลจริงๆ การบันทึกผล



เป็นขั้นตอนมีการจดบันทึก ทำตาราง เด็กส่วนมากไม่ชอบการเขียน เพราะต้องคิดไปด้วยเพราะบันทึก


ต้องทำทุกอย่างของการทดลอง เด็กจึงไม่อยากทำ  ครูให้เด็กบันทึกแบบแผนภูมิแท่งเพ่อความเข้าใจ


มากขึ้น  จากนั่นก็เรียกเด็กๆมาช่วยกันสรุปผลทีละกลุ่ม ศึกษาเพิ่มเติม