คลิกที่รูป เพื่อเอาโค้ดรูปนี้ไปแปะ

วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:10
Out to Class 12:20
 
กิจกรรมที่ทำ
 
วันนี้อาจารย์เริ่มต้นชั่วโมงด้วยการ ให้สมาชิกในห้องแถวที่ 2 ออกมาหน้าชั้นเรียน และให้นักศึกษาสังเกตดูว่าสิ่งของเหล่านี้สามารถจัดรูปแบบได้แบบไหนบ้าง และดิฉันมีภาพประทับใจมากฝากทุกคนด้วยค่ะ

 
Knowledge
ถ้าเราจะจัดกิจกรรมให้กับเด็กเราต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็ก แล้วเมื่อถึงวุฒิภาวะเด็กจะเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น


 
 
เชื่อมโยงแนวคิดพื้นฐานเข้าสู่กิจกรรม
 
 Activities 1
 

 
 
ชื่อการทดลอง:แสงเทียนอัศจรรย์
Equipment
1.Taper
2.Match
3.Glass
4.Cup
 
Methods
1.จุดเทียนไข แล้ววางบนก้นถ้วย
2.นำแก้วคว่ำบนเทียนไข
3.สังเกตเทียนไข
 
Results
 จากการทดลองปรากฎว่า เมื่อนำแก้วมาคว่ำบนเทียนไข   ทำให้ อากาศภายในแก้วน้ำดันออกมา ทำให้เทียนไขดับ
 
อุปสรรคและข้อควรระวังในการทดลอง
1.ครูและเด็กควรระวังอันตรายที่เกิดจากการทดลอง
2.ครูควรเก็บอุปกรณ์ที่ใช้แล้วให้ถูกที่
   ปัญหา  คือ แก้วน้ำสั้นกว่าเทียน
   วิธีแก้ไข  คือ ตัดเทียนไขให้สั้นกว่าแก้ว
                  
Activities 2



ชื่อการทดลอง:ดอกไม้เบ่งบาน
 Equipment
1. Paper
2. Container
3. water
 
 
 Methods
1.พับกระดาษ A4 เป็น 4 ช่องแต่เราเอาแค่ช่อง 1
2.แล้วพับเป็นมุม 4 มุม แล้วฉีกให้เป็นรูปดอกไม้
 3. นำกระดาษที่เราพับไว้ไปลอยน้ำ
4.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษ
 
 Results
จาการทดลอง นำกระดาษไปลอยน้ำ เมื่อกระดาษถูกน้ำกระดาษจะค่อยๆคลี่ออกหรือคลายตัวออก เนื่องจากน้ำซึมซับเข้าไปในเนื้อกระดาษทำให้การะดาษคลี่ออก
 
อุปสรรคและข้อควรระวังในการทดลอง
1.ถ้าเราพับกระดาษแน่นเกินไปกระดาษจะเปลี่ยนก่อน แล้วจะไม่คลี่ออก
2. เวลาฉีกกระดาษอาจใช้การออกแรงเยอะมาก อาจทำให้เป็นอันตรายกับข้อมือเด็ก เพราะเด็กวัยนี้กล้ามเนื้อมััดเล็กของเขายังต้องการพัฒนาอยู่
                      
 
Activities 3

 
 
เทคนิคการสอน
อาจารย์ใช้สื่อที่หลากหลายน่าสนใจ เร้าความอยากรู้อยากเห็นให้เด็ก เช่น การทดลองเทียนไขอัศจรรย์  ทำให้เกิดการเรียนรู้ โดยใช้คำถาม  What  < Why  < When  เพื่อให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบต่อไป
 
การประเมิน Evaluate
การประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจดูอาจารย์ทดลองให้นักศึกษาดู และมีส่วนร่วมในการทดลองกับอาจารย์และร่วมตอบคำถามกับเพื่อนในห้อง แต่งกายเรียบร้อยเหมาะสมดี
 
การประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่แต่งกายเรียบร้อยดี สนใจในสิ่งที่อาจารย์สอน อาจมีคุยกันบางนิดหน่อย
 
การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์มีเทคนิคการสอนให้นักศึกษาได้ฝึกคิด อย่างมีตรรกะ ความรู้ และการเชื่อมโยงเข้ากับเด็กปฐมวัยได้
 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
นำเทคนิคการสอนที่อาจารย์แนะนำไปปรับใช้ ในรายวิชาอื่นให้ถูกต้องและเหมาะสม และนำไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย
 
สิ่งที่ต้องศึกษาค้นคว้า
-สัปดาห์หน้าสอนตามหน่วยของตนเอง(หน่วยไข่)
-ลิงค์กรอบมาตราฐานวิทยาศาสตร์
 
หมายเหตุ
-วันนี้อาจารย์ติวแผนการสอนอย่างเข้มข้น เพราะสัปดาห์หน้านักศึกษาจะสอบสอน

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:15
Out to Class 12:20
กิจกรรมที่ทำ
Knowledge
 
วันนี้อาจารย์เริ่มต้นชั่วโมงเรียนด้วยการให้เพื่อนที่ยังไม่นำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ เมื่ออาทิตย์ที่แล้วมานำเสนอ
 
                              สื่อที่นำเสนอเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
 
 

 
สื่อที่ดิฉันประทับใจมาก


นางสาว ขวัญฤทัย ใยสุข

วิธีเล่น
- เล่น 2 คน แล้วดึงเชือกเพื่อให้จรวดแล่น
 
หลักการวิทยาศาสตร์
 -การออกแรงดึง และฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปล่อย จะทำให้วัตถุกระทบกันทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้
 


จากนั้นอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มหันหน้าเข้าหากัน เพื่อที่จะปรึกษาหารือกันภายในกลุ่ม พร้อมคิดสื่อที่เข้ามุมกับสื่อของเล่นที่เกี่ยวกับหน่วยไข่(Eggs)  และอาจารย์ก็แนะนำการเขียนแผนตั้งแต่แผ่นแรก จนถึงการสอนวันที่ 3 ของสัปดาห์ แล้วอาจารย์ก็เลือกให้ว่าแต่ละกลุ่มสอนวันไหน ซึ่งกลุ่มของดิฉัน สอนคือ การประกอบอาหารจากไข่
 
เทคนิคการสอน
อาจารย์ใช้วิธีการสาธิตและระดมความคิดเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมและการแสดงความคิดเห็น เพื่อฝึกการคิดและการตอบคำถาม
 
การประเมิน( Evaluate )
 
 
การประเมินตนเอง
 
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนดี สนทนาโต้ตอบกับอาจารย์ ในเชิงวิชาการ แต่รู้สึกล้าอย่างบอกไม่ถูกต้องท้ายชั่วโมง อาจารย์เป็นเพราะเรียนถึง 12:25 เลยทำให้เหนื่อยค่ะ
 
การประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนส่วนใหญ่คุยกัน จนบางครั้งอาจารย์ต้องเตือนอยู่บ่อยๆ  และดูหน้าตาเหนื่อยๆ กันทุกคน
 
การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ตั้งใจสอน และให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องของการทำสื่อ ว่าทำอย่างไรจะได้ใช้สื่อคุ้มและคงทน และให้คำปรึกษาในเรื่องการเขียนแผนเต็มความสามารถและทุ่มเทมาก
 
สิ่งที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม
-การทำสื่อเข้ามุม
-การทำของเล่นเกี่ยวกับหน่วยไข่
 
หมายเหตุ
วันนี้ไม่มีการนำเสนอบทความเนื่องจากเวลาหมดก่อน

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
Go to Class 8:10
Out to Class 12:20
 
 
 กิจกรรมที่ทำ
 
Knowledge
 
วันนี้อาจารย์เริ่มต้นชั่วโมงด้วยการให้นักศึกษานำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ ซึ่งสื่อของดิฉัน ชื่อ:ล้อรถจากหลอดด้าย
 
อุปกรณ์(Equipment)
     
         1.ด้าย(Reel)
      2.ยางรัดแกง
            3.เทียน(Candle)
               4.ก้านธูป(Incense)
 
วิธีทำ(Complete)
 

 
 
        เสร็จแล้วค่ะ  ล้อรถจากหลอดด้าย ใช้หลักการวิทยาศาสตร์โดย การออกแรงหมุนก้านธูป เพื่อให้หนังยางบิดเป็นเกลียวและตึงซึ่งจะสะสมในรูปแบบของพลังงานศักย์ และเมื่อปล่อย หนังยางจะคลายตัวทำให้ล้อรถหลอดด้ายเคลื่อนที่ได้กลายเป็นรูปแบบพลังงานจลน์
 
 
 
การทำวิทยาศาสตร์แบบมีส่วนร่วม

 
 
ชื่อสื่อ : การสมดุล
วิธีเล่น : ต่อเป็นรูปต่างๆ ได้ตามใจชอบ ไม่ใหเล้มหรือพัง
 
 
 สื่อที่ดิฉันรู้สึกมากๆ และประทับใจ
 
           ชื่อสื่อ :นักดำจากหลอดกาแฟ
                    วิธีเล่น : เมื่อบีบขวดนักดำน้ำจะจม แต่ถ้าปล่อยนักดำน้ำจะลอยพุ่งขึ้น

 
 
 
ผลงานของเพื่อนๆค่ะ
 
 

 
 
จากนั้นอาจารย์พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเรื่องแผนการสอนและสื่อที่ใช้ในการสอน
 
1.แผนการสอนกลุ่ม   ''หน่วยไข่'' แก้ไขแล้วดังรูปค่ะ


 
กลุ่มของเราได้แบ่งการสอนตามวันดังนี้ค่ะ
 
    วันที่ 1 ชนิดของไข่  (นิตยา ใยคง)
    วันที่ 2 ลักษณะของไข่  (ศิริวรรณ แก้วประสิทธิ์)
    วันที่ 3 ส่วนประกอบของไข่ (กนกวรรณ เทพดนตรี)
    วันที่ 4 ประโยชน์ของไข่ ( จิราภรณ์  นวลโฉม)
    วันที่ 5 การเก็บรักษาไข่ (จิราวรรณ จันทร์หนองหว้า)
 
สื่อที่ใช้ในการสอนเกี่ยวกับ ''หน่วยไข่''
 
-อาจารย์ให้ไปคิดมา จากนั้นอาจารย์จะแนะนำ ให้สื่อสมบูรณ์ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
 
เทคนิคการสอน
 
อาจารย์ใช้เทคนิคที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น อาจารย์จะยกตัวอย่างที่ชัดเจนเข้าใจง่าย และใช้สื่อในการสอนที่หลากหลาย
 
การประเมิน( Evaluate )
 
การประเมินตนเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย ร่วมสนทนาตอบโต้กับอาจารย์ในเชิงวิชาการ สามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง
 
การประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ตั้งทำสื่อมากๆ และสามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้
 
การประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์แนะนำเรื่องสื่อ และการเขียนแผนการสอน
เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วม
 
การนำไปประโยชน์ใช้
นำสื่อแบบต่างๆ ที่เพื่อนนำเสนอไปประยุกต์ใช้หรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับหน่วยที่จะสอน
 
สิ่งที่ต้องศึกษาเพิ่ม 
-การเขียนแผน
-การทำสื่อการสอนในหน่วยไข่
-ทำไม หลอดด้าย ถึงหมุนได้
 
หมายเหตุ
-เพื่อนบางส่วนลืมนำสื่อวิทยาศาสตร์มาส่ง


วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุป เรื่อง อากาศมหัศจรรย์

                                     
บันทึกการเรียน
Science Experiences Management for Early Childhood
ครูผู้สอน คุณครูจินตนา สุขสำราญ
 
สรุป เรื่อง อากาศมหัศจรรย์




การนำไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปสอนในหน่วย ลม ได้ คือเราจะรู้เทคนิคการสอน หรือการรับมือกับเด็กได้  แจะจัดประสบการณ์ให้เด็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม